3 ปี กับ Solar Cell แบบลื่นไหลปรู๊ด ๆ

By Arnon Puitrakul - 05 มกราคม 2024

3 ปี กับ Solar Cell แบบลื่นไหลปรู๊ด ๆ

ในที่สุด ระบบ Solar Cell ของเราก็เดินทางมาถึงปีที่ 3 แล้วละ ปีนี้โดยรวมเป็นปีที่ เราไม่เจอปัญหาอะไรกับระบบเลย หลังจากที่ปีก่อน ASolar เข้ามาจัดการลงแผงใหม่ ก็ยังไม่เจอปัญหาอะไร (เพราะยังไม่ได้ไล่เช็คหลังจากนั้น แต่เราเดาว่า ณ วันที่เขียน น่าจะมีบ้างแหละ) ส่วน Optimiser ที่ติดเพิ่มเข้ามา ข้อมูลในปีนี้น่าจะพอตอบคำถามนี้ได้คร่าว ๆ แล้วละ เรามาดูกันดีกว่า ว่ามันยังทำให้เราคืนทุนได้ในระยะเวลาเท่าเดิมหรือไม่

Performance Analysis ระบบ 1

เราเริ่มจาก การผลิตในแต่ละปี เราจะเห็นว่า ปี 2023 ที่ผ่านมา เราผลิตได้มากกว่าปี 2021 ที่เป็นเต็มปีแรกของการติดตั้ง จาก 6.26 MWh ในปี 2021 เป็น 6.40 MWh ในปี 2023 ทำให้เอ๊ะใจมา ๆ ว่า มันเกิดอะไรขึ้น

เพราะอย่างที่เราเล่าให้อ่านก่อนหน้า ในต้นปี 2022 เราพบว่ามันมีแผงไหม้ นั่นแปลว่าจริง ๆ แล้วมันไม่ได้ไหม้มาตั้งแต่ปี 2022 แต่มันเริ่มจริง ๆ สักวันนึงในปี 2021 ทำให้จริง ๆ แล้วเราตีคร่าว ๆ ได้เลยว่า 2021 เป็นปีที่เสียทั้งหมดเลย แล้วกลายเป็นว่าปี 2023 มันได้มากกว่าปี 2021 หน่อยเดียวเองเหรอ มันแปลก ๆ เหมือนกัน

แล้วเมื่อเราเทียบกับปี 2022 ที่เราเปลี่ยนแผงไป เราได้มา 6.69 MWh หรือมากกว่าอยู่ประมาณ 4% กลับกันก็คือ ปี 2023 ประสิทธิภาพตกลงไปถึง 4.46% ซึ่งมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้อยู่ที่ 0.4-1% ถือมากกว่าพอสมควรเลยทีเดียว เราไม่แน่ใจว่า มันเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้แดดน้อยกว่าปีก่อน หรือเป็นเพราะ ระบบมีปัญหา หรือ เป็นเพราะประสิทธิภาพแผงมันตกกันแน่ การที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราว่าน่าจะต้องรอให้เรามีข้อมูลมากกว่านี้ แล้วเราจะได้เริ่ม Plot อัตราประสิทธิภาพจริง เทียบกับที่เราประมาณการณ์ไว้ทีหลังได้

หรือจริง ๆ แล้วเกิดจากข้อมูลของปีที่แล้ว โดยเฉพาะเดือนมีนาคม มีความผิดพลาด โดยมันแปลกมาก ๆ ที่เดือน ๆ นึงระบบ 5 kWp จะสามารถทำได้ 901.8 kWh มันพอ ๆ กับสองระบบรวม ๆ กันแล้ว ถ้าเราคำนวณใช้ชั่วโมงแดด 4 ชั่วโมงเยอะมาก ๆ ไปเลย เราจะได้อยู่เดือนละ 600 kWh เท่านั้นเอง แต่มันกดไป 900 kWh เราว่ามันแปลกมาก ๆ แต่ถ้าเราเอา ข้อมูลของเดือนมีนาคมปี 2021 และ 2023 มาหาค่าเฉลี่ยเพื่อ Impute ข้อมูลเข้าไป จะทำให้ทั้งปี 2023 จะเหลืออยู่ประมาณ 6.1 MWh เท่านั้น เราคิดว่า อันนี้แหละน่าจะ Make Sense กว่าเดือนละ 901.8 kWh มาก ๆ เลยละ

หากเราประมาณการณ์ลักษณะนี้ จะทำให้ปี 2023 ประสิทธิภาพของระบบ 1 ดีขึ้นมาประมาณ 0.3% เรื่องนี้เราอธิบายได้ เพราะก่อนหน้านั้น หลังจากเราเจอว่าแผงมันมีรอยไหม้แล้ว เราให้เพื่อนถอดแผงทางทิศเหลือออกจากระบบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น และในปี 2023 เราให้เพื่อนเข้ามาย้ายแผงที่ถอดออก ไปใส่ทางทิศตะวันตก และ ทิศตะวันออก จนเหลือแผงเปล่า ๆ แผงนึง ทำให้จริง ๆ แล้วปี 2023 เรามีแผงเพิ่มขึ้น 2-3 แผง เมื่อรวมกับความเสื่อมแล้ว การจะได้เพิ่มเข้ามา 0.3% ก็ถือว่าดีมาก ๆ แล้วละ

หากเรามาดูในระดับเดือนเทียบกับอีก 2 ปีที่ผ่านมา (เว้นปี 2020 สีฟ้า) แนวโน้มที่เห็น ระบบผลิตได้เยอะขึ้นในช่วงต้นปีอย่าง เดือน 1-2 แล้วตกหมดไปดีกว่าปีก่อนหน้าช่วงเดือน 11-12 ไปเลย ระหว่างน้ันก็ยังถือว่าสูสีกับปีก่อน ๆ ที่ผ่านมาอยู่ แต่เราว่ามันยังมองเห็นอะไรไม่เยอะเท่าไหร่ เลยยังไม่อยากสรุปอะไรกับข้อมูลชุดนี้มากนัก ยิ่งเป็นปีแรกที่เราไม่ได้ทำอะไรกับแผงมากเท่าไหร่ด้วย อยากรอดูข้อมูลในอีกสัก 2-3 ปี เราว่าน่าจะเริ่มเห็น Trending Line ว่า มันได้พลังงานตกไปเร็วขนาดไหน มันจะเร็วกว่ามาตรฐานได้ขนาดไหน เอาเข้าจริง อัตราการลดมันอาจจะไม่ได้เป็น Linear ด้วยซ้ำ รอดูอย่างเดียวละกันว่ามันจะไปทางไหนยังไง หากเราไม่ทำอะไรเลย

Performance Analysis ระบบ 2

เราเริ่มด้วย การผลิตในแต่ละปี เราจะเห็นว่า เห้ย ทำไมพลังงานที่ผลิตได้มันเด้งขึ้นมาเท่าตัวเลย จริง ๆ ต้องบอกว่า ระบบมันเริ่มเดินในเดือน 5 ของปี 2022 ดังนั้นข้อมูลในปี 2022 มันเป็นข้อมูลไม่เต็มปี ทำให้มันค่อนข้างต่างจากปี 2023 ประมาณ 45.23% จากปีก่อนหรือ 3.27 MWh เป็น 5.97 MWh เราคิดว่าจะเอาปริมาณพลังงานที่ผลิตตัวนี้แหละ เป็น Gold Standard ว่า ระบบ 2 ต้องผลิตได้น้อยกว่า หรือใกล้ ๆ กับกำลังการผลิตของปี 2023 เนื่องจาก ระบบมันต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลากันบ้างแหละ แต่ต้องรอดูแหละว่าจะเด้ง ๆ เหมือนระบบ 1 หรือไม่

เนื่องจากปีนี้เป็นปีแรกที่ระบบ 2 ได้เดินเครื่องเต็มปี เรามาดู Character การผลิตของระบบแต่ละเดือนที่เราได้มาก่อนดีกว่า ดูผ่าน ๆ เราจะเห็นว่า มันจะมีแค่ 4 เดือนที่เป็นหลุม ๆ คือ Jun-Jul และ Oct-Nov อันนี้เราว่ามันแปลก ๆ นิดหน่อย เราไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร แต่เดือนที่เหลือ เราเฉย ๆ เลยนะ เพราะเราติดตั้งทางทิศใต้ ยังไงแดดอ้อมใต้อยู่แล้ว มันน่าจะได้ใกล้ ๆ กันแหละ คิดว่าเดือนที่เป็นหลุมอาจจะต้องรอดูข้อมูลเพิ่มเติม สักปีหน้าเพื่อ Verify อีกทีว่าสมมุติฐานที่เราบอกว่ามันน่าจะได้พอ ๆ กันในทุก ๆ เดือนมันจะเป็นจริงหรือไม่

เรามาดูผลของ Optimiser คร่าว ๆ กันบ้าง เราเริ่มต้นติด Optimiser เดือน Dec 2022 ทำให้ เราขอเอาเดือน Dec 2022 ออกจากการวิเคราะห์ในครั้งนี้ เพราะถือว่าได้รับการติดตั้งเหมือนกัน และเดือน Jan - May ก็เอาออกเช่นกัน เพราะไม่มีข้อมูล หรือ มีข้อมูลไม่เต็มเดือนในปี 2022 ทำให้ในที่นี้ เราจะคุยกันแค่เดือน Jun-Nov ของปี 2022 และ 2023 เท่านั้น

จากกราฟเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า Performance พลังงานที่ผลิตได้ในเดือนเดียวกันของปี 2023 เทียบกับปี 2022 เพิ่มขึ้นสูงกว่ากันในทุก ๆ เดือน ในขณะที่เราคิดเรื่อง การเสื่อมของแผงด้วย ยิ่งทำให้เราได้ข้อมูลที่น่าตกใจมากว่า Optimiser มันช่วยเรื่องการ Yeild พลังงานได้มากกว่าจริง ๆ เฉลี่ย 7.75% เมื่อเทียบกับไม่ติด Optimiser ในระบบเดียวกัน และอย่างที่เราบอกว่า อย่าลืมเรื่องค่าเสื่อมด้วย ทำให้เลขนี้จริง ๆ แล้วเรา Underestimate แล้วด้วยนะ ตีกลม ๆ เดา ๆ เลย ถ้าเราเอา 2 ระบบที่อายุเท่ากันวางที่เดียวกันอายุเท่ากันเหมือนกับระบบ / ของเรา การลง Optimiser น่าจะทำให้เราได้ Energy Yield สูงขึ้นระดับ 8-9% ได้เลยทีเดียว เลยเริ่มคิดแล้วนะว่า หรือว่า Optimiser มันคุ้มกับการลงทุนวะ แต่ยังไงใจเย็น ๆ นะ รอดูข้อมูลก่อน

Performance Comparison ระหว่างระบบที่ 1 และ 2

เรามาลองเอาทั้งสองระบบมาเทียบเดือนต่อเดือนกันดีกว่า สีน้ำเงินคือระบบ 1 และสีแดงคือระบบ 2 นะ ดูผ่าน ๆ พลังงานที่ผลิตได้ต่อเดือนของระบบ 1 ชนะระบบ 2 ทุกเดือน เว้นช่วงต้นปีคือเดือน 1-2 ซึ่งเอาเข้าจริง เรามองว่ามันไม่น่าแปลกเท่าไหร่ เพราะต้องอย่าลืมว่า String Config แตกต่างกันพอสมควรเลยทีเดียว โดยระบบ 1 เรากดแผงไป 16 แผง แต่กลับกัน ระบบ 2 เดินอยู่ที่ 9 แผงด้วยกัน ห่างกันเกือบเท่าตัว แต่ได้พลังงานไล่เลี่ยกันแบบนี้ ต้องบอกเลยนะว่า ระบบ 2 ทรงงานหนักมาก ๆแล้วละ เราว่ามันไม่น่าจะไปได้มากกว่านี้แล้ว ส่วนเดือน 1-2 เรามองว่า อาจจะเป็นเรื่องของมุมที่การอ้อมมันมีผลนิดหน่อยแหละ

หากเทียบพลังงานที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งสองระบบเดินไปในแนวโน้มเดียวกัน กล่าวคือ มันมีการเพิ่มขึ้นหรือลดพลังงานที่ผลิตเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าได้ลงไปในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้คาดเดาว่า ระบบน่าจะไม่มีปัญหาอะไรร้ายแรงที่ทำให้ระบบใดระบบหนึ่งทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

ประหยัดไปขนาดไหน ?

ก่อนเราจะไปถึงเรื่องการประหยัด เราขอพาไปดู Landscape ของการใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราก่อน จากกราฟ เราจะเห็นว่าในปี 2023 ที่ผ่านมา ในบ้านเรามีการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นมาก ๆ ซึ่งเป็นเรื่องแปลกพอสมควร เนื่องจากในปี 2023 นี้ ที่บ้านเราไม่ได้มีการเพิ่ม หรือเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอัตราการใช้งานพลังงานไฟฟ้าสูงเลย แต่ข้อมูลบอกว่ามีการเพิ่มขึ้น เดาว่าแอร์น่าจะเป็นต้นเหตุ เพราะในปี 2023 ที่บ้านเราเอง เรียกว่าเปิดแอร์ฉ่ำเลยละ บางครั้งร้อนมาก ๆ เราสั่งให้มันเปิดเอง เพื่อให้กระเป๋า และน้ำหอมอยู่แปบ ๆ แล้วก็ปิดไป คิดว่า น่าจะต้องประหยัดไฟกันให้มากกว่านี้แล้วละ เปิดเยอะเกิ๊นนนน

ด้านขวามันว่าง ๆ เพราะเราใส่ช่องของปี 2024 ที่ยังไม่มีข้อมูลลงไปรอสำหรับกรอกในปีนี้

เราเอาหน่วยที่ใช้งานจริงก่อนหัก Solar เทียบกับบิล ดูในปี 2023 เราจะเห็นว่าบิลค่าไฟเรามันเด้งขึ้นมาเยอะพอสมควร สูงสุดของปี 2023 น่าจะเป็นเดือน 7 โดนไป 2991.87 บาท แต่ใช้ไป 1,526.38 kWh เมื่อเทียบกับเดือนที่ใช้ใกล้ ๆ กันอย่าง เดือน 12 โดนค่าไฟอยู่ที่ 2,205.28 บาท กับใช้ไฟไป 1,583.96 kWh เยอะกว่าเดือน 7 อีก แต่เราเสียค่าไฟน้อยกว่า นั่นเป็นเพราะนโยบายลดค่า Ft ของรัฐบาล ที่ตอนนี้ Q1 2024 ก็คือกลับมาเกือบ ๆ เท่าเดิมแล้ว ถ้าเรายังใช้ไฟประมาณเท่าปีก่อน เราอาจจะได้เจอบิลที่สูงขึ้นกว่าปีก่อนในช่วงสิ้นปีแน่นอน เปงเศร้าเลยฮะ

นอกจากนั้นอีกเส้นบาง ๆ ด้านหลังเป็น Trend Line ของปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้งานในบ้าน จะเห็นว่า แนวโน้มของเส้นมันไปในทางค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมันตรงกับที่เราคุยกันไปในกราฟก่อนหน้า ถือว่าเป็นเครื่องยืนยันสมมุติฐานของเราว่าเราใช้ไฟเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ถามว่าแล้วการที่เราใช้ Solar Cell ขนาดนี้มันทำให้ เราลดการซื้อไฟจากการไฟฟ้าไปได้เท่าไหร่ ค่านี้เราเรียกว่า Self-Power Percentage เราเอา 12 เดือนในปี 2023 มาเฉลี่ยกัน เราได้อยู่ที่ 74.80% สำหรับเรา เรามองว่า มันน้อยไปหน่อย เพราะระบบขนาดนี้มันเลยคำว่าสำหรับบ้านปกติไปไกลแล้ว แต่มันยังแทนเราได้ไม่ถึง 80% เลย

นอกจากนั้น ถ้าเราเอาค่าไฟก่อนหัก Solar เทียบกับหลังหักแล้วมาหาราคาหน่วยไฟโดยเฉลี่ย หลังจากหัก Solar Cell ไปแล้ว สูงสุดของเราก็คือ เดือน 7 เราโดนไปหน่วยละ 1.96 บาท เท่านั้นเทียบกับ ถ้าไม่หัก Solar Cell โดนไป 5.57 บาท เรียกว่า ฉ่ำเลยทีเดียว แต่อย่างที่บอกว่า Self-Power เรายังไม่ถึง 80% เลยทำให้ เรายังไม่พาค่าไฟเฉลี่ยต่ำ 1 บาทต่อหน่วยได้เลย ยังอยู่ที่ 1 บาทต้น ๆ แต่ก็ยังถูกกว่าหน่วยไฟแบบ TOU เยอะมาก และเราเลือกใช้ในเวลาที่เราต้องการได้ด้วย เลยคิดว่า บ้านเรายังไม่น่าลง TOU เท่าไหร่

เราลองมาคิดดูว่า หากเราไม่ใช้ Solar Cell เราจะโดนค่าไฟในปี 2023 ทั้งหมด 88,892.18 บาท และเทียบกับเมื่อใช้ Solar Cell เหลือ 21,424.66 บาทเท่านั้น ซึ่งแปลออกมาได้ว่า Self-Power Percentage ของเราแปลออกมาเป็นเงินที่เราประหยัดไปประมาณ 75.90% หรือประหยัดไป 67,467.52 บาท

ROI ที่กี่ปี

สุดท้าย มันกลับไปที่คำถามว่า มันแปลออกมาเป็น ROI ที่กี่ปี จากก่อนหน้านี้ เราคุยกันอยู่ที่ประมาณ 8-9 ปี และเราคาดการณ์ว่า เมื่อระบบที่ 2 เดือนเต็มปี น่าจะทำให้ ROI เราเด้งลงไปที่ประมาณ 6-7 ปี อันนี้เราคำนวณปัจจัยเรื่องความเสื่อมของแผงเข้าไปด้วย โดยเรากำหนดให้ 25 ปี ประสิทธิภาพการผลิตจะต้องเหลือ 80% และค่อย ๆ ลดลงเป็นแบบ Linear (ของจริง เรายังไม่รู้ เลยสมมุติไปแบบนี้ก่อน) โดยเราคำนวณออกมาว่า เมื่อครบ 7 ปี เราจะเริ่มมีกำไร 1,507.71 บาท และเมื่อครบปีที่ 10 ที่ Inverter ของระบบ 1 หมดประกัน เราจะมีกำไร 184,956.04 บาท เรียกว่า แทบจะรื้อระบบเดิมออกแล้วลงอันใหม่เข้าไปยังได้เลย หาก Inverter เสียขึ้นมาในช่วง 10 ปี เราก็ยังไม่ขาดทุนอยู่ดี ดังนั้น เรายังอยู่ในการลงทุนที่ยังไงก็กำไรอยู่ดี

และจากที่เราประมาณการณ์เงินที่จะประหยัดไปประมาณ 60,000 บาทต่อปี ของจริงมันได้ 67,467.52 บาท ถือว่า ใกล้เคียง ๆ ใช้ได้เลยละ นั่นทำให้กำไรตลอด 25 ปีของเราจะเพิ่มจาก 871,274.00 บาท ที่เราประมาณไว้ปีก่อน เป็น 1,027,541.04 บาทได้เลย ล้านนึงใน 25 ปี หารเฉลี่ยออกมา ปีละ 41,000 กว่าบาท ด้วยเงินลงทุน 446,000 บาท เห้ยเกือบ 10% แมร่งดีกว่าดอกเบี้ยในกองทุนอีกนะ ฮ่า ๆ (ไม่ต้องพูดถึงดอกเบี้ยเงินฝากนะ ฮ่า ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ขำแห้งเลยนะอันนั้นอะ เศษเงิน หรือเปลือกหอย) แต่อย่าลืมนะว่า มันไม่ได้มาเป็นเงินที่เราจับต้องได้จริง ๆ กับกว่าเราจะได้ขนาดนั้น เราจะต้องรอถึง 25 ปี ถ้าใครรอได้ เงินเย็น ก็ยังตอบเหมือนเดิมว่า เป็นการลงทุนที่น่าสนใจมากตัวนึงเลยละ

สรุป

จากข้อมูลที่เราได้สรุปมาในปี 2023 เราก็ยังมองว่า การติด Solar Cell เป็นตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจมาก ๆ ตัวนึง ถ้าเรามองเป็นผลิตภัณฑ์การลงทุน ดูจากผลกำไรมันก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอยู่ดี บอกก่อนนะว่าเราไม่ได้เชิญชวนให้ลงทุนนะเว้ย !!!!!!!!!! นั่นเป็นเรื่องของอีกเกือบ ๆ 25 ปีกว่าจะถึง แต่เรื่องที่เป็นรูปธรรมมากกว่าในตอนนี้คือ ความรู้สึกการใช้ไฟในบ้านของเรา เพราะเราไม่ต้องกลัวว่า เห้ยเราเปิดแอร์มันจะเปลืองไฟมั้ย เราชาร์จรถมันจะกินไฟขนาดไหน หรือ เราจะทำนั่นนี่ในบ้านมันทำให้ค่าไฟขึ้นมั้ย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ค่า Ft มันยังสูงอยู่ โดยเฉพาะในต้นปี 2024 ณ วันที่เขียนมันกลับมาสูงอีกแล้ว ลดตามนโยบายที่หาเสียงได้ไม่กี่เดือนกลับมาอีกแล้ว และเราไม่รู้ว่าในอนาคตมันจะไปขนาดไหนด้วยซ้ำ ตอนนี้กลายเป็นว่า ถ้าค่า Ft ขึ้นเราจะแอบยิ้ม ๆ นิด ๆ เพราะมันทำให้ เงินที่เราประหยัดมันสูงขึ้น นั่นแปลว่า เราจะคืนทุนเร็วขึ้นด้วยซ้ำ สิ่งที่ต้องแลกคือ การจัดสรรพลังงานตามเวลาที่ระบบผลิตได้ แรก ๆ เรางมอยู่นานว่าจะจัดการยังไง แต่เวลาผ่านไป 3 ปี เรื่องพวกนี้เราทำจนชินแล้ว เช่นการชาร์จรถช่วงที่แดดแรง ๆ หรือการเปิดแอร์ในช่วงที่กำลังไฟจาก Solar Cell เหลือ ตอนนี้เราพึงพอใจกับการใช้งานระบบมาก ๆ ก็ต้องมารอดูในปีต่อ ๆ ไปว่ามันจะเป็นอย่างไร เราจะมา Update ให้อ่านกันในทุก ๆ ต้นปีเด้อ

Read Next...

การสร้าง SSD Storage Pool บน Synology DSM

การสร้าง SSD Storage Pool บน Synology DSM

สำหรับคนที่ใช้ Synology NAS บางรุ่นจะมีช่อง M.2 สำหรับเสียบ NVMe SSD โดยพื้นฐาน Synology บอกว่ามันสำหรับการทำ Cache แต่ถ้าเราต้องการเอามันมาทำเป็น Storage ละ มันจะทำได้มั้ย วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการทำกัน...

รีวิว Foreo Luna 3 Plus เครื่องล้างหน้าสามัญประจำบ้าน จำเป็นต้องซื้อมั้ย

รีวิว Foreo Luna 3 Plus เครื่องล้างหน้าสามัญประจำบ้าน จำเป็นต้องซื้อมั้ย

หลังจากรีวิวอุปกรณ์หลาย ๆ ตัวของ Foreo ไปแล้ว แต่ทำไมเราลืมของเด็ดอันเลื่องชื่อของ Foreo ไปซะได้ เห็นได้จากชื่อหัวเรื่องกันแล้วเนอะ วันนี้เราจะมา รีวิวเครื่องล้างหน้าจาก Foreo กัน เป็นรุ่น Luna 3 Plus จะเป็นยังไงไปอ่านได้ในรีวิวนี้เลย...

Multiprogramming, Multiprocessing และ Multithreading

Multiprogramming, Multiprocessing และ Multithreading

หลังจากที่เรามาเล่าเรื่อง malloc() มีคนอยากให้มาเล่าเรื่อง pthread เพื่อให้สามารถยัด Content ที่ละเอียด และเข้าใจง่ายในเวลาที่ไม่นานเกินไป เลยจะมาเล่าพื้นฐานที่สำคัญของคำ 3 คำคือ Multiprogramming, Multitasking, Multiprocessing และ Multithreading...

Microinverter ต่างจาก String Inverter อย่างไร เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

Microinverter ต่างจาก String Inverter อย่างไร เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

หลังจากเราเขียนเรื่อง Solar Cell ไปมีคนถามเข้ามาอยู่ว่า ถ้าจะเลือกติดตั้ง Solar ระหว่างการใช้ระบบ String Inverter กับ Microinverter เราจะเลือกตัวไหนดี วันนี้เราจะมาเล่าเปรียบเทียบให้อ่านกันว่าแบบไหน น่าจะเหมาะกับใคร...