Tutorial

ลดขนาดรูปบน Wordpress ด้วย EWWW Image Optimizer

By Arnon Puitrakul - 23 กุมภาพันธ์ 2017

ลดขนาดรูปบน Wordpress ด้วย EWWW Image Optimizer

เรามาถึงในยุคที่เว็บไซต์ของเราสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ และจากหลากหลายประเภทอุปกรณ์ด้วยกัน เรื่องนึงที่สำคัญเรื่องนึงคือ รูปภาพ ไหนจะเรื่องของขนาด (Dimension) หรือจะขนาดไฟล์อีก วันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ขนาดไฟล์กัน เราจะมาใช้ EWWW Image Optimizer ในการลดขนาดของไฟล์กัน

ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บส่งผลอย่างไรเว็บไซต์ของเรา ?

สำหรับปัญหานี้ ให้เราลองนึกดูว่า ถ้าเราเป็นคนที่เข้าหน้าเว็บสักเว็บนึง แล้วปรากฏว่า เว็บนี้รูปเยอะมาก ๆ แล้วโหลดช้าอีก เราคงไม่ค่อยสบอารมณ์แน่นอน

ฉะนั้น เรื่องของการโหลดหน้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก มีการทดลองบอกว่า ผู้ใช้จะคาดหวังว่า หน้าจะสามารถโหลดได้ในเวลาประมาณ 2-3 วินาที จากนั้นจะเริ่มออกหนีไป

ที่ได้กล่าวไปเมื่อกี้เป็นทางฝั่งของ Desktop แต่ถ้าเป็นทางฝั่ง Mobile ความคาดหวังจะสูงขึ้นอีกมาก ทำให้เราต้องทำให้หน้าของเราโหลดได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ขนาดของไฟล์ภาพก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย

จริง ๆ เหตุผลก็มีอยู่หลาย ๆ อย่าง แต่วันนี้ขอยกเรื่องของขนาดของไฟล์ภาพมาก่อนละกัน ถ้าเราลองใช้ Inspect Tool เข้าไปดู Request ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหน้าเว็บของเรา เราจะเห็นได้ว่า มากกว่า 50% ของหน้าเว็บเรากินไปกับภาพเกืิอบหมดแล้ว มันทำให้เราเสียเวลาเป็นจำนวนมากในการโหลดภาพเข้ามาแสดงผลนหน้าเว็บของเรา บางภาพก็ใหญ่จะโหลดนาน บางภาพเล็กจะโหลดช้า ตามขนาดของภาพ และความเร็วของอินเตอร์เน็ตกันไป

สิ่งที่เราจะทำได้ง่ายที่สุดคือ การลดขนาดของไฟล์ภาพให้ได้มากที่สุด ซึ่งก็จะทำได้ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือการ ลดขนาด (Dimension) ของภาพ หรือ การบีบอัดภาพนั่นเอง

ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้สามารถทำควบคู่กันไปได้ ตัวอย่างเช่นเว็บของผมที่ทุกท่านกำลังอ่านอยู่ตอนนี้ ก็ทำทั้ง 2 อย่างเหมือนกัน ก็ต้องไปดูว่าหน้าเว็บของเราต้องใช้ภาพขนาดไหนมา และเอามาบีบอัดทุกครั้ง แต่มันจะไปเสียเวลาตรงตอนบีบอัดนี่แหละ

Workflow ของการทำภาพ Blog เมื่อก่อนของผมก็คือ ได้ภาพออกมาเอาไปย่อให้ Width เป็น 1000px และสุดท้ายก็เอาไปเข้าเว็บ tinyPNG แล้วถึงจะอัพโหลดเข้าเว็บต่อไป แต่ขั้นตอนตรงนี้มันค่อนข้างกินเวลามาก เลยต้องหาวิธีมาลดขั้นตอนตรงนี้

EWWW Image Optimizer คือคำตอบ !

EWWW Image Optimizer

เมื่อตอนไปงาน WordCamp BKK ที่ผ่านมา ก็ได้ไปรู้จักกับ Plugin ตัวนึงที่ชื่อว่า EWWW Image Optimizer ที่เป็น Plugin ตัวนึงอยู่บน Wordpress ที่จะคอยช่วยลดขนาดของไฟล์ภาพในเว็บเราโดยใช้การบีบอัด

ซึ่งการติดตั้งก็ไม่ยากเลย เพียงแค่เราเข้าไปที่ Plugin ในหน้า Admin ของไซต์เราแล้วเข้าไปติดตั้งก็เรียบร้อย

ถ้าเกิดเรามีรูปภาพอยู่ในเว็บของเราอยู่แล้ว เรายังสามารถที่จะสั่งให้มันบีบอัดไฟล์ภาพทั้งหมดที่เรามีอยู่ได้ทั้งหมดทีเดียว ด้วยคลิกเดียวเลย โดยการกดปุ่ม Bulk Optimize ได้เลย มันก็จะเริ่มทำการบีบอัดไฟล์ภาพบนเว็บของเราให้ทั้งหมดเลย

แต่ภาพต่อ ๆ ไปที่เราจะอัพโหลด มันก็จะบีบอัดให้อัตโนมัตินะ ไม่ต้องมานั่งสั่ง Bulk Optimize ทุกครั้ง

ทำออกมาแล้วอาการเป็นยังไง ไหนบอกหมอสิ๊ !

จริง ๆ คือลืมแคปหน้าจอก่อนตอนทำเอาไว้ วิธีทดสอบของผมคือ การใช้เน็ตตัวเดียวกันเปิดหน้าเดียวกัน และหาค่าเฉลี่ยออกมา และทำแบบนี้อีกครั้งหลังจากการแปลงเสร็จสิ้น

ผลคือหน้าเว็บโหลดเร็วเพิ่มขึ้น 10% นิด ๆ เท่านั้น เหตุที่เพิ่มมาไม่มากน่าจะเป็นเพราะว่า ก่อนหน้านี้ภาพนั้นได้ทำการบีบอัดมาแล้ว (ที่เคยบอกไปว่าใช้ tinyPNG มาช่วย) ทำให้เปอร์เซ็นต์ในการบีบอักอีกครั้งมันเลยต่ำมาก ๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 14% เท่านั้น ฉะนั้นขนาดของภาพจึงลดลงไม่มากขนาดนั้น และจะเห็นได้ว่า ภาพทั้งหมดในหน้าเว็บตอนนี้กลายเป็น WebP หมดแล้ว ซึ่งก็ส่งผลดีต่อหน้าเว็บของเรามาก ๆ

สรุป

การนำ Plugin อย่าง EWWW Image Optimizer เข้ามาช่วยก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีในการบีบอัดรูปภาพในเว็บไซต์ของเรา ที่จะช่วยในเรื่องของขนาดรูปภาพได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับหน้าเว็บที่มีรูปภาพเยอะ ๆ แล้ว Plugin ตัวนี้จะช่วยคุณได้เป็นอย่างดีในการจัดการบีบอัดรูปภาพ ก็แนะนำให้ลองเอามาใช้ดูครับ มันจะช่วยย่นเวลาของเรา และยังลดขนาดของผู้ใช้ที่ต้องโหลดหน้าเว็บเราด้วย ผู้อ่าน Happy ผมก็ Happy ครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

Read Next...

Synology NAS และ SSD Cache จำเป็นจริง ๆ เหรอ เหมาะกับระบบแบบใด

Synology NAS และ SSD Cache จำเป็นจริง ๆ เหรอ เหมาะกับระบบแบบใด

ใน Synology NAS มีความสามารถนึงที่น่าสนใจคือ การใช้ SSD เป็น Cache สำหรับระบบ ที่ทำให้ Performance ในการอ่านเขียน เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก ๆ แน่นอนว่า เราลองละ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า หากใครคิดที่จะทำ มันเหมาะ หรือ ไม่เหมาะกับการใช้งานของเรา...

ฮาวทูย้าย Synology Add-on Package ไปอีก Volume

ฮาวทูย้าย Synology Add-on Package ไปอีก Volume

เรื่องราวเกิดจากการที่เราต้องย้าย Add-on Package ใน DSM และคิดว่าหลาย ๆ คนน่าจะต้องประสบเรื่องราวคล้าย ๆ กัน วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการว่า เราทำยังไง เจอปัญหาอะไร และ แก้ปัญหาอย่างไรให้ได้อ่านกัน...

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

การใช้ Docker CLI ในการจัดการ Container เป็นท่าที่เราใช้งานกันทั่วไป มันมีความยุ่งยาก และผิดพลาดได้ง่ายยังไม่นับว่ามี Instance หลายตัว ทำให้เราต้องค่อย ๆ SSH เข้าไปทำทีละตัว มันจะดีกว่ามั้ย หากเรามี Centralised Container Managment ที่มี Web GUI ให้เราด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ Portainer กัน...

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

ปกติหากเราต้องการจะเปิดเว็บสักเว็บ เราจำเป็นต้องมี Web Server ตั้งอยู่ที่ไหนสักที่หนึ่ง ต้องใช้ค่าใช้จ่าย พร้อมกับต้องจัดการเรื่องความปลอดภัยอีก วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการที่ง่ายแสนง่าย ปลอดภัย และฟรี กับ Cloudflare Tunnel ให้อ่านกัน...