Technology

หนีงานมา Google I/O Extended Bangkok 2017

By Arnon Puitrakul - 11 กรกฎาคม 2017

หนีงานมา Google I/O Extended Bangkok 2017

หนึ่งปีก็เวียนมาบรรจบอีกแล้ว กับงาน Google I/O Extended Bangkok 2016 ปีที่แล้วจัดที่ Paragon จัดว่า Grand มาก ปีนี้มา Google I/O Extended Bangkok 2017 ชื่อเดิมที่เพิ่มคือ ปี ก็กลับมาอีกครั้ง ก็ได้สถานที่มาจัดที่ตลาดหลักทรัพย์กันบ้าง ก็ Grand อยู่หน่อย ๆ แต่ต้องยอมรับว่า ไม่ Grand เท่ากับปีก่อน แต่ได้อยู่ !!

Welcome Speech

เริ่มจาก Keynote จาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะพูดถึงเรื่องของเทคโนโลยีที่ใช้ในตลาดหลักทรัพย์ว่า ใช้อะไรบ้าง แล้วที่มามันเป็นยังไง บอกว่า ตอนนี้เริ่มมีการศึกษาและเตรียมที่จะปล่อย Product ที่เป็น Blockchain ออกมา กับอีกเรื่องคือ Big Data Analysis เพราะตลาดหลักทรัพย์เองก็มีข้อมูลเข้ามาในหลายช่องทางมาก และผู้ใช้ก็มีความหลากหลายสูง จึงจำเป็นต้องเข้าใจผู้ใช้ให้มากขึ้น จึงต้องนำข้อมูลมาวิเคราห์เพื่อให้ได้ Insight มาเพื่อใช้งานต่อได้

Welcome Keynote

ได้ฤกษ์กันแล้วกับ Keynote แรกจาก Thye Yeow Bok จาก Google APAC ที่มา Recap งาน Google I/O ที่ปีที่แล้วก็มา ปีนี้ก็มา ~~ ก็มีการพูดถึง Stat ของ Android ในปีนี้ที่ Active User ของ Android อยู่ที่ 2B ไปแล้ว และน่าตกใจมากที่ประเทศไทยเราใช้เวลากับ YouTube สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก

Google I/O ในปีนี้ก็มีการแบ่งเรื่องออกมาอยู่หลายเรื่องด้วยกัน AR/VR ในปีนี้ก็มีการเปิดตัว Daydream 2.0 ออกมาที่ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานให้ดีขึ้น และสามารถใช้งานอะไร ๆ ได้มากขึ้น นอกจาก VR ก็มาที่ฝเก่ง AR ที่มีเรื่องของ Expeditions AR ออกมาเพื่อใช้ในห้องเรียน

นอกจากนั้นยังมี WebVR ที่ทำให้เราสามารถทำ VR ได้บนเว็บเลย และรองรับแบบบน Google Chrome เรียบร้อย ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ Content ที่เป็น VR ได้อย่างง่ายดาย และในอนาคตจะมี AR เข้ามาด้วยเช่นกัน เด็ดกว่านั้นใน Youtube ก็จะเอาเรื่องของ AR/VR มาจับด้วย ที่จะออกในอนาคตอันใกล้นี้

Google Assistant ก็มาแรกในปีนี้เช่นกัน ที่ Google ได้เปิดตัว Google Assistant ออกมา โดยตอนแรกปล่อยให้ Google Pixel ได้เล่นก่อนในปีที่แล้ว มาในปีนี้ก็เตรียมที่จะเปิดให้เครื่องอื่น ๆ ได้ใช้กันแล้ว ที่เจ๋งจริง ๆ ของปีนี้คือมี Assistant SDK ออกมาให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์ Feature ได้โดยใช้ Engine เดียวกับ Google Assistant ได้เลย ซึ่งในงานก็จะมี Session นึงพูดถึงเรื่องนี้เหมือนกัน นอกจากนั้นยังมี Transaction on Assistant ที่สามารถทำให้จ่ายเงินได้ใน Google Assistant ได้เลย

ในช่วงปีที่ผ่านมา Chatbot ก็เป็นอีกเรื่องที่ใคร ๆ ก็สนใจกันในปีนี้ Google ก็มีการเปิดตัว Chatbase ออกมาที่เป็น Analytic สำหรับ Chatbot

พระเอกของงานอีกตัวที่ลืมไม่ได้เลยคือ Android มาในงานปีนี้มีการประกาศว่า Kotlin รองรับแบบ Native แล้วในการพัฒนา Android ที่เป็นข่าวฮือฮ่ามากในโลกของนักพัฒนา Android เลย

Cloud & AI ก็เป็นอีกเรื่องที่ Google ให้ความสนใจมาก เพราะ Google เชื่อว่า Machine Learning จะปลดล๊อคความสามารถที่เราไม่เคยทำได้มาก่อน เลยมีการเปิดตัว google.ai ที่เป็นการรวมผลงานเกี่ยวกับ AI ในเว็บไซต์ นอกจากนั้นมีความสนใจในเรื่องของ Automatic Machine Learning ที่เป็นการใช้ Machine Learning ในการทำ Machine Learning (งง กันแน่ ๆ) Idea ของมันคือ การทำให้คอมพิวเตอร์สอนกันเองได้ จากตอนนี้ที่ทำได้แค่เรียนแล้วจบที่ตัวเอง

AI บน Google Cloud Platform ก็มาแรงเหมือนกัน เพราะมีการเปิดตัว Cloud TPU ที่เป็น Chip ที่ออกแบบมาเพื่อการทำ Machine Learning โดยเฉพาะเลย จัดว่าแรงโคตร ๆ ที่จะเปิดให้เราใช้ใน GCP ในช่วงปีหน้า และยังมีการเปิดตัว Tensorflow Lite ที่เป็น Machine Learning Library บน Smart Phone (รอมานานแล้วววว)

What's new in Firebase and Cloud Platform

เริ่มที่ Session แรกเป็นเรื่องของ What's new Firebase จากพี่ตี๋ ปีที่แล้วใน Google I/O Extended Bangkok ก็มีการพูดถึงเรื่องของ Firebase ไปมาในปีนี้ เริ่มด้วย Stat ตั้งแต่ปีก่อนที่เปิดตัวไปจนถึงปีนี้ มี Project มากกว่า 1 ล้านโปรเจ็คแล้ว

ปีนี้เอง Firebase ก็มีการเปิดตัว Product ใหม่เป็น Performance Monitoring และ Cloud Storage for Firebase ที่เราสามารถเลือก Region ในการเก็บไฟล์ได้แล้วเพื่อลด Latency ในการเข้าถึงไฟล์ใน Bucket ได้เยอะมาก ๆ และยังทิ้งท้ายในส่วนนี้ว่า ถ้าเซ็ตเก่งพอควร ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเก็บไฟล์ลงได้อีกด้วย

และอีก Feature นึงที่เปิดตัวคือ Cloud Function ที่สามารถเขียน Function ลงไปใน Firebase ได้เลย แล้วเราก็แค่เรียก Trigger ลงไปในแล้วก็รันได้เลย ผลทำให้เราสามารถลด CPU ของฝั่ง Client ได้เลย ซึ่งเว็บ arnondora.in.th เองก็กำลัง Implement Image Optimiser โดยใช้ Cloud Function ใน Firebase อยู่เหมือนกัน กำลังจะเอามาใช้จริง เร็ว ๆ นี้

ฟีเจอร์ตัวนึงที่โดนเรียกร้องรัว ๆ กันอย่างยาวนานคือ Phone Authentication ที่สามารถทำ OTP ได้อย่างง่ายดาย อีกฟีเจอร์นึงคือ Reporting และยังมี Performance Reporting ที่เข้ามาช่วยเรา Monitor App ของเราว่า ตรงไหนช้า ตรงไหนเร็ว Request ไหนเป็นยังไง บอกได้หมด ทำให้เราสามารถแก้ไข App ของเราได้ทันที

Image Classification with Deep Learning

สำหรับ Session ถัดไปจะอยู่อีกห้อง เป็นเรื่องของ Image Classification ด้วย Deep Learning จากพี่ต้า ที่เป็น GDE ด้าน Machine Learning ที่มาเล่าว่า เราจะสามารถทำ Image Classification ได้อย่างไร โดยหลัก ๆ แล้วเราสามารถทำได้ 2 วิธีคือการใช้ Pre-Trained Model กับ Custom Model

การใช้ Pre-Trained Model จาก Google ก็ทำได้ง่ายมาก ๆ แค่เราส่งรูปเข้าไป มันก็จะโยนผลกลับมาให้เราได้ทันที เช่นพวก Vision API อะไรพวกนี้ก็ได้ แต่ปัญหาคือ ตัว Pre-Trained Model ไม่ได้ให้ข้อมูลตามที่เราต้องการสักเท่าไหร่เช่นพวกการทำ Machine Learning สำหรับงานเฉพาะด้านเลย ก็จะต้องมาใช้พวก TensorFlow ก็ในงานก็มีการ Demo ข้อมูลภาพจาก Wongnai ให้เราดูกันว่า เราจะทำ Image Classification เพื่อแบ่งระหว่างรูปอาหาร และรูปบรรยากาศร้าน

Introduction to Kotlin

Session ต่อไปเป็น Kodlin ที่หลาย ๆ คนน่าจะได้ยินข่าวกันมาแล้วว่า Android Studio รองรับ Kodlin เรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญกว่านั้น ที่ไหนเรียน Java ได้ก็เขียน Kodlin ได้เลย เขียนลงไปในไฟล์เดียวกับ Java ได้เลย และยังทำงานพร้อมกับ Code ที่เป็น Java เก่าได้ 100% เพราะฉะนั้นเราไม่จำเป็นต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อจะย้ายมา Kodlin เลยโคตรสะดวก

Building app for the Google Assistant

มาถึง Session ในช่วงบ่ายก็เป็นเรื่องของGoogle Assistant โดย พี่ตั้ง #คนเถื่อน2017 (อย่าบอกพี่ตั้งนะว่า เล่าแบบนี้ ฮ่า ๆ) ที่มาพูดถึงเรื่องจะของการสร้างคำสั่งสำหรับ Google Assistant ว่าเราสามรถทำได้โดยวิธีไหนบ้าง พร้อมกับทำโชว์กันบนเวทีสด ๆ เลยว่าแต่ละวิธีทำยังไง พอได้ดูปุ๊บมันง่ายกว่าที่คิดไว้มาก ตอนแรกวาดฝันไว้ว่ามันต้องเขียนอะไรมากมายซับซ้อนมาก พี่ตั้งมาทำให้ดูบนเวที อ้าว เฮ้ย แค่นี้เองเหรอ !!!

Recommender system with TensorFlow

Session ต่อไปเป็นเรื่องของ Recommendation System โดยพี่เจมส์ GDE Machine Learning อีกคน ที่มาเล่าถึงการทำ Recommendation System ว่าสามารถทำได้ยังไงบ้าง แล้วข้อดีข้อเสียแต่ละแบบเป็นยังไงบ้าง และสอนการทำโดยใช้ TensorFlow อีก อันนี้ขอไม่ลงรายละเอียดละกัน เพราะมันค่อนข้าง Technical มาก ๆ จริง ๆ วางแผนว่าจะเขียน Blog เล่าหลักการของระบบพวกนี้อยู่เหมือนกัน ก็รอติดตามกันนะครับ (ขายของตัวเองในนี้ก็ยังได้วุ้ย)

Modern web The next era of web experience

มาใน Session ต่ออีกอีกกลับมาหาพี่ตั้งคนเถื่อนอีกในเรื่องของ Web Experience ที่มาเล่าเรื่องของ Performance ของการโหลดหาเว็บว่าทำยังไงให้โหลดได้ไว และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ Experience แต่ก็เข้ามาช่วงหลัง ๆ เลยค่อยได้อะไรเท่าไหร่ จับได้ประมาณนี้ ชู่ว ๆๆ อย่าไปบอกพี่ตั้งเชียวว่าเข้ามาช้า ฟังไม่ทัน

Progressive on Framework and Tooling

Google I/O Extended Bangkok 2017 Live Coding

ถัดไปก็เป็น Session ของพี่ปันเจ และแก๊งค์ตลกสามช่ารายการ **<hardcode> **(พี่ 2 คนนี่ตลกจริง !! รายการพี่ตลกจนผมขำลั่น MRT จนคนหันมามองไปแล้ว โคตรอาย) ในหัวข้อ Progressive on Framework and Tooling ก็จะมา Code สดโชว์ว่า ถ้าเราจะ Implement PWA เราจะทำมันได้ยังไงบ้าง ซึ่งถ้าเราใช้ Framework เช่น React หรือ Angular อะไรพวกนี้ก็จะสามารถสร้าง Project ที่ออกมาเป็น PWA ได้เลย ส่วนถ้าเราต้องการจะเอามาเขียนเอง Google ก็มี Workbox เอามาใช้ได้ โดยมันจะรองรับการทำงานหลาย ๆ อย่างตั้งแต่ Basic จนถึง Advance เลย ก็เห็นเลยว่าการทำ PWA นั้นไม่ได้ยากเลยจริง ๆ เป็นอะไรที่น่าทำมาก

Building Beautiful Apps Faster With Material Components on Android

และ Session สุดท้ายเป็นเรื่องของ Notification Channel & Badges Kotlin ที่มาพูดในเรื่องของ Badge ที่เป็น Feature ตัวใหม่ใน Android O จริง ๆ มันมีมาสักพักแล้วละ แต่มันติดปัญหาการรองรับ เพราะ Android Devices แต่ละเจ้าใช้ Launcher ต่างกัน ทำให้ยากที่จะเขียนให้รองรับทุกเจ้าพร้อมกันได้ Google เลยเขียนออกมาเป็น Official API ออกมาให้ใช้กันใน Android O ตัวใหม่ออกมา

ซึ่งใน Session นี้จะมาพูดว่า เราจะสามารถ Implement Badge และ Notification ได้อย่างไร รวม ๆ คือมันง่ายมาก ๆ เลย ต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีมันผ่านไปเร็วมาก ๆ เมื่อก่อนกว่าจะ Implement ได้ละ Feature ใช้เวลาและแรงเยอะมากมาในตอนนี้นี่ ชิว กว่าเดิมเยอะเลย

Google I/O Extended Bangkok 2017 จัดว่าเด็ด

และก็จบไปแล้วกับงาน Google I/O Extended Bangkok 2017 มากี่ปีก็ยังอยากที่จะมาในปีต่อไปเรื่อย ๆ นอกจาก Speaker ที่เก่ง (พูดเก่ง และเล่นตลกสามช่าเก่ง) นอกจากนั้นยังได้พบปะเพื่อน ๆ ทั้งหน้าเก่า และเพื่อนใหม่ ๆ เต็มไปหมดเลย เดินไปคือ ทักทั้งงาน ฮ่า ๆ

Read Next...

Stream Apple Music อย่างไรให้ได้คุณภาพสูงสุด

Stream Apple Music อย่างไรให้ได้คุณภาพสูงสุด

เรื่องของเรื่องคือ เราทดลองเล่นเพลงผ่าน AirPlay 2 เข้ากับลำโพงแล้วเสียงมันแปลก ๆเลยไปหาข้อมูลมา เลยทำให้โป๊ะว่า อ้าว.... ชิบหาย Hi-Res ทิพย์นี่หว่า ทำไม เราไปดูเหตุผลในบทความนี้กัน...

ซิงค์ลม vs ชุดน้ำ แบบไหนเหมาะกับใคร

ซิงค์ลม vs ชุดน้ำ แบบไหนเหมาะกับใคร

เมื่อไม่กี่วันมานี้เราเอาเครื่องไปเปลี่ยน CPU มา เป็นตัวที่ดุเดือดขึ้น ทำให้เกิดคำถามว่า เอ๋ เราควรจะใช้เป็นชุดน้ำไม่ว่าจะเปิดหรือปิด หรือจะเป็นซิงค์ลมแบบที่เราใช้งานกันมานาน หลังจากไปหาข้อมูลต่าง ๆ วันนี้เรามาเล่าให้อ่านกันว่า แต่ละอันมันจะเหมาะ หรือไม่เหมาะกับใคร...

Calibrate หน้าจอไปทำไมและทำอย่างไร

Calibrate หน้าจอไปทำไมและทำอย่างไร

เรื่องของเรื่องคือ เราซื้อจอ Dell Ultrasharp 32 นิ้วมาใหม่ และมักนำมาใช้ทำงานพวก Colour Grading และ แต่งรูป ด้วย เรื่องสีเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ไปนั่งคุยกับเพื่อนก็คือ เพื่อนมาทำเลยให้ค่าาา วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า ทำไม เราจำเป็นต้องทำ Display Calibration และ หลักการเบื้องหลังคืออะไร...

เลือกซื้อ Music Steaming เจ้าไหนดีในปี 2024

เลือกซื้อ Music Steaming เจ้าไหนดีในปี 2024

มาถึง Content ที่คนถามเข้ามาเยอะมากว่า ในปี 2024 ในไทยเรามี Music Streaming เข้ามาเปิดหลายเจ้ามาก ๆ ตั้งแต่ Spotify, Apple Music, Youtube Music และ Tidal เราควรจะเลือกเจ้าไหนดี วันนี้เราจะมาวัดจาก Indication 5 อย่างด้วยกัน แล้วลองมาสรุปคะแนนดูว่า เราน่าจะเหมาะกับเรื่องแบบไหนกันดีกว่า...