Tutorial

Java 101 - Exception Handling (EP.9)

By Arnon Puitrakul - 29 ธันวาคม 2014

Java 101 - Exception Handling (EP.9)

2 เรื่องที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากอยู่พอสมควร แต่วันนี้เป็นเรื่องสั้นๆ ง่ายๆ ไม่มึน งง คล้ายจะเป็นลมเหมือน 2 เรื่องที่แล้ว
วันนี้เป็นเรื่องของการ จัดการกับ Error ก่อนหน้านั้นเราจะมาเข้าใจกับคำว่า Exception กับ Error กันก่อน
มาที่อันแรกก่อน นั่นคือคำว่า Error จริงๆแล้วมันก็คือข้อผิดพลาดนี่แหละ อาจเกิดจาก Syntax Error ซึ่งความผิดที่เกิดจาก Syntax Error พวกเราก็น่าจะเคยเจอกันจนชินซะแล้ว (เหรอ?) ส่วนอีกตัวคือ Logical Error อันนี้แหละครับ ที่ตัว Compiler มันแจ้งเราไม่ได้เพราะมันตรวจได้แค่ว่า โปรแกรมที่เราเขียนนี้ Syntax ถูกรึเปล่า
ส่วนคำว่า Exception นั้นจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ (ที่ไม่ใช่ Logical Error กับ Syntax Error) เช่นการหารด้วยศูนย์ หรือเปิดไฟล์แล้วหาไฟล์ไม่เจอเป็นต้น**(ส่วนอีกเรื่องของ Exception นั่นเข้าไปดูได้ใน Document ของ Java นะ มันเยอะอธิบายไม่หมด)**
ตัว Error เราแก้มันได้อยู่แล้วล่ะ แต่ Exception เนี่ยมันลำบากเพราะ Compiler ก็ให้ผ่าน แต่มันจะมีที่บางกรณีจะเกิด เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีวิธีรับมือกับมัน
ในภาษา Java จะมี Class ที่ชื่อว่า Exception เอาไว้จัดการกับเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว ซึ่งเราจะใช้มันร่วมกับคำสั่ง Try Catch อารมณ์ของมันจะเหมือนเราใช้if...else เลย เช่น ผมมีโค๊ตข้างล่างนี้ ผมบอกให้มันปริ้นค่าของ x/y ออกมา

int x = 2;
int y = 0;

System.out.println(x/y);

ซึ่งถ้าเรา Compile มันก็ผ่าน แต่เวลารันออกมามันจะขึ้นว่าjava.lang.ArithmeticException นั่นคือ Exception ที่เราเจอ แต่ถ้าเป็นผู้ใช้ทั่วไปก็คงไม่รู้ว่านี่คืออะไร (เอาจริงๆ คนเขียนเอง เขียนไปเขียนมายัง งง เลย) ทีนี้เราจะมาดัก Exception ผ่าน Try... Catch กัน ผมจะเอาโค๊ตข้างบนเมื่อกี้มาแก้นะ

int x = 2;
int y = 0;

try
{
System.out.println(x/y);
}
catch (ArithmeticException error)
{
System.out.println("Can't Divied By Zero.");
}
finally
{
//this will be executed everytime.
}

ทีนี้โปรแกรมมันก็จะบอกและว่า Can't Divied By Zero ตามที่เราบอก วิธีการทำงานของมันคือ มันจะเข้าไปทำใน try ก่อนแล้วถ้าเกิด Exception ขึ้นมันจะวิ่งเข้าไปหา Catch ที่ตรงกับ Exception ที่มันเจอและเก็บค่า Error ไปใน Object ชื่อ error แล้วมันจะทำงานในปีกกาของ Catch (ถ้ายัง งง ให้นึกว่า Exception ที่เกิดจาก Try เป็น If แล้วมันจะวิ่งเข้าไปหาเงื่อนไข (Else if) นั่นคือ catch นั่นเอง สุดท้าย มันจะเข้าไปทำใน finally ทุกครั้ง ย่ำว่า "ทุกครั้ง" (finally ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้นะ)

เทคนิค

  • ถ้าไม่รู้ว่าจะ catch exception อะไรให้เขียนไปก่อนว่า Exception เพราะไม่ว่ามันจะเกิด Exception อะไรมันจะเข้าหมด เหมือน else เลย

  • เราสามารถที่จะใส่ throws Exception ไว้หลัง บรรทัดตอนประกาศ Method ก็ได้ เวลามันเกิด Exception ใน Method มันจะเด้งออกเลยทันที เช่น

    public static void main (String [] args) throws Exception
    {
    }

  • ใน catch ถ้าเราอยากจะรู้ว่าเกิด Exception ตรงไหนถ้าเราบอกว่า[code language="java"]
    catch (Exception e)
    {
    System.out.println(e);
    }
    [/code]เราก็จะรู้ว่า มันเกิด Exception อะไร แต่ ไม่ได้บอกว่าตรงไหนบ้าง ซึ่งใน Class Exception จะมี Method นึงชื่อว่า printStackTrace() เอาไว้ให้มันโชว์ว่า มันเกิด Exception จากตรงไหนของ Code กันแน่
    ทีนี้เรารู้แล้วว่า เราจะดัก Exception ยังไง ตอนนี้เราจะมาสร้าง Exception ใช้เองกัน ไม่ยาก ก่อนอื่นสร้าง Class ก่อน ซึ่งการที่ Class นี้จะเป็น Exception ได้ เราก็ต้องให้มันสืบทอดมาจาก Class Exception กันก่อน สำหรับตัวอย่างผมจะให้มันเช็คว่าผมลัพธ์เป็นเลขคู่มั้ย ถ้าเป็นเลขคี่จะให้มันเกิด Exception

    public class NotEvenException extends Exception //สร้าง Class ที่เป็น Class ลูกของ Class Exception
    {
    void checkval (int value)
    throws NotEvenException
    {
    if (value % 2 != 0) //ถ้าเป็นจริง
    throw new NotEvenException(); //ก็ให้เกิด Exception
    }
    }

อธิบายโค๊ตก่อน ตอนแรกผมบอกให้มันสร้าง Class ก่อนโดยที่เป็นClass ลูกของClass Exception จากนั้นสร้าง Method ขึ้นมาให้มันเกิด Exception ก็ต่อเมื่อใน if เป็นจริง แต่นี้เอง เวลาเราใช้ เราก็แค่ สร้าง object จาก Class ที่เราสร้างมา แล้วก็ให้มันเช็คใน Try ส่วนใน Catch ก็ ใส่ชื่อ Exception ที่เราสร้างได้เลย (ผมจะเอา Exception เลขคี่เมื่อกี้มาใช้นะ)

public static void main (String [] args)
{
int a = 4;
int b = 3;

NotEventException err = new NotEventException ();

try
{
err.checkval(a/b);
}
catch (NotEventException)
{
System.out.println("Result isn't an event number");
}
}

ไล่ตามโค๊ตเลยนะ ก่อนอื่นเราก็ สร้าง Object จาก Class Exception ที่เราสร้างก่อน แล้วเรามาเขียน Try Catch แล้วก็ให้มัน Try เรียก Method checkval ที่มาจาก class exception ที่เราสร้าง จากใน Class Exception ที่เราสร้าง เราบอกว่าถ้า มันหารแล้วไม่เป็นเลขคู่ให้ โยน Exception ออกมา มันก็จะไปเข้ากับ Catch พอดีเลย แล้ว มันก็จะทำใน Catch และก็เสร็จ จบกระบวนการ
เห็นมั้ยครับ ไม่ยากเลย หลักๆวันนี้ก็เรียนรู้เรื่องของ Exception กับ Error, การดัก Exception ด้วย try catch และสุดท้ายคือการสร้าง Exception ใช้เอง สำหรับ EP. นี้ก็จบเพียงเท่านี้ สวัสดีครับ อ่อลืมบอกไปว่า EP หน้าจะเป็น EP สุดท้ายของซีรีส์ Java 101 แล้วนะ
Source Code : https://drive.google.com/folderview?id=0BwrPA9Miv4o2T3BBMDczNjFzcE0&usp=sharing

Read Next...

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

การใช้ Docker CLI ในการจัดการ Container เป็นท่าที่เราใช้งานกันทั่วไป มันมีความยุ่งยาก และผิดพลาดได้ง่ายยังไม่นับว่ามี Instance หลายตัว ทำให้เราต้องค่อย ๆ SSH เข้าไปทำทีละตัว มันจะดีกว่ามั้ย หากเรามี Centralised Container Managment ที่มี Web GUI ให้เราด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ Portainer กัน...

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

ปกติหากเราต้องการจะเปิดเว็บสักเว็บ เราจำเป็นต้องมี Web Server ตั้งอยู่ที่ไหนสักที่หนึ่ง ต้องใช้ค่าใช้จ่าย พร้อมกับต้องจัดการเรื่องความปลอดภัยอีก วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการที่ง่ายแสนง่าย ปลอดภัย และฟรี กับ Cloudflare Tunnel ให้อ่านกัน...

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

เวลาเราทำงานกับข้อมูลอย่าง Pandas DataFrame หนึ่งในงานที่เราเขียนลงไปให้มันทำคือ การ Apply Function เข้าไป ถ้าข้อมูลมีขนาดเล็ก มันไม่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าข้อมูลของเราใหญ่ มันอีกเรื่องเลย ถ้าเราจะเขียนให้เร็วที่สุด เราจะทำได้โดยวิธีใดบ้าง วันนี้เรามาดูกัน...

ปั่นความเร็ว Python Script เกือบ 700 เท่าด้วย JIT บน Numba

ปั่นความเร็ว Python Script เกือบ 700 เท่าด้วย JIT บน Numba

Python เป็นภาษาที่เราใช้งานกันเยอะมาก ๆ เพราะความยืดหยุ่นของมัน แต่ปัญหาของมันก็เกิดจากข้อดีของมันนี่แหละ ทำให้เมื่อเราต้องการ Performance แต่ถ้าเราจะบอกว่า เราสามารถทำได้ดีทั้งคู่เลยละ จะเป็นยังไง เราขอแนะนำ Numba ที่ใช้งาน JIT บอกเลยว่า เร็วขึ้นแบบ 700 เท่าตอนที่ทดลองกันเลย...