Tutorial

Java 101 – Inheritance & Encapsulation (EP.7)

By Arnon Puitrakul - 27 ธันวาคม 2014

Java 101 – Inheritance & Encapsulation (EP.7)

คำเตือน!! เรื่องที่จะอธิบายในวันนี้นั้นจะใช้ความรู้ของเรื่อง OOP ค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นถ้าใครยังมึนงงกับเรื่องนี้อยู่ โปรดกลับไปอ่านเรื่อง OOP101 ก่อนที่จะมาเรียน เรื่องนี้นะครับ
ปล. นี่คือเขียนรอบ 2 แล้ว รอบแรก Save ไว้หายหมดเลย TT... อาจจะชุ่ยหน่อยนะครับ
ใครที่อ่านมาแล้ว เชิญทางนี้เลย วันนี้เราจะมาพูดถึงสมบัตินึงของ OOP ที่เราเรียกว่า Inheritance และ Encapsulation
เอาที่ล่ะอัน Inheritance หรือภาษาไทยเรียกตามตัวเลยว่า การสืบทอด -> **มันคือการที่ Class นั้นสืบทอดมาจากอีก Class นึงโดยที่เราจะได้ Class ใหม่ที่มี Attribute และ Method ที่เหมือน Class แม่ทุกประการและเรายังสามารถเพิ่ม Attribute และ Method ได้อีกด้วย **ถ้ามองภาพไม่ออกอีกดูนี่

public class animal
{
String name;

public void walk ()
{
System.out.println("I'm walking.");
}

public void eat ()
{
System.out.printf("I'm eating");
}
}

ผมสร้าง Class animal ขึ้นมาโดยที่มี Attribute ชื่อ name 1 ตัว และมี Method 2 อันคือ walk() กับ eat()
หลังจากนั้นผมจะสร้างอีก Class นึงขึ้นมา ให้ชื่อว่า dog ล่ะกัน

public class dog extends animal
{
private String owner_name;

dog ()
{
owner_name = "";
}

dog (String in_name)
{
owner_name = in_name;
}

public void foo ()
{
System.out.println(name + " foo foo");
}

public void show_name ()
{
System.out.println(owner_name);
}
}

Class dog ที่สร้างมาใหม่นั้น ผมให้มันสืบทอดจากClass animal อีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้น Attribute ของ Class dog จะมี name ที่มาจาก Class animal และ owner_name ที่มาจากตัว Class dog เอง
ส่วน Method ก็เช่นกัน ก็จะมี walk() และ eat() ที่มาจาก Class animal และมี foo(),show_name() ของตัว Class dog เอง (ส่วน method อีก 2 อันใน Class Dog ไม่พูดถึงล่ะกัน อันนั้นคือ constructor ในเรื่องนี้จะไม่เกี่ยวเท่าไหร่)
สรุปแล้ว การสืบทอด คือการที่ Class สามารถเข้าถึง Method และ Attribute ของ Class แม่ได้ ซึ่งการเขียนคือใช้ Keyword คำว่า extends (อย่าลืมเติม s ด้วยล่ะ ไม่งั้น Error) ใส่ไว้หลังชื่อ Class ลูก แล้วตามด้วยชื่อของ Class แม่
อีกเรื่องย่อยของ Inheritance นั่นคือ Final Class
Final Class - คือ Class ที่เราบังคับว่าไม่ให้มัน Inheritance ไปต่อได้ ไม่ยากเพียงใส่ Keyword คำว่า final ไว้หน้า Class ซะก็จบ เพราะฉะนั้นมันจะทำให้ Class ที่เราใส่ final ไปนั้นไม่สามารถเป็น Class แม่ได้ (ถ้ามองเป็น Tree เจ้า Class ที่เราใส่ final เข้าไปมันก็จะเป็น leaf โดยทันที) เช่น

final class puddle extends dog
{
private int id;

puddle ()
{
id = 0;
}

puddle (int in_id)
{
id = in_id;
}

public void show_id ()
{
System.out.println("Puddle Id " + id);
}
}

ผมสร้าง Class ชื่อ puddle ขึ้นมาอันนึงแล้วบอกว่าให้มันเป็น Class ลูกของ Class dog แล้วก็ให้มันเป็น Final Class อีกโดยมี Attribute เพิ่มเติมอีกคือ id ที่เป็น integer หรือจำนวนเต็ม และมี Method ชื่อ show_id อีกตัว
ถ้าเราลองดูครับ ลองเขียน Class ใหม่อีกตัวนึงแล้วต่อท้ายไปว่า extends puddle มันจะ error โดยทันที เพราะว่า Class puddle นั้นเป็น Final Class ไปแล้วทำให้มันเป็น Class แม่ไม่ได้อีกแล้ว... ยาวๆไป (ไม่น่าเกี่ยวนะไอ้ยาวๆไปเนี่ย)
อีกนิดนึง เกือบลืมแล้วคือเรื่องของ Override Method
Override Method คือ Method ที่มีชื่อเหมือนกับ Method ที่อยู่ใน Class แม่ ถ้าเราสร้างมันมาใน Class ลูกเวลาเราเรียกใช้ Method นี้ผ่าน Object ที่สร้างจาก Class ลูก เราจะไปเรียก Method ที่อยู่บน Class ลูกแทน แต่ในเวลาเดียวกันถ้าเราสร้าง Object จาก Class แม่เวลาเราเรียก Method มันจะไปเรียกที่ Class แม่โดยตรง เช่น

public void walk ()
{
System.out.println("Dog is walking.");
}
[/code]

ผมสร้าง **Method** นี้ใน **Class dog **แล้วเวลาผมบอกใน main ว่า

[code language="java"]
public static void main (String [] args)
{
Dog d1 = new Dog ();
System.out.println(d1.walk());
}

Output ที่ออกมาจะเป็น **Dog is walking. **แทนที่จะเป็น I'm walking. เหมือนใน Class animal ที่เป็น Class แม่ของ Class dog
อีกเรื่องคือเรื่องของ Encapsulation
Encapsulation คือกลไกตัวหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดสิทธิในการเข้าถึง โดยเราจะไม่ให้ตัว Object สามารถเข้าถึง Attribute ได้โดยตรงจะต้องวิ่งผ่าน Method เท่านั้น
ถามว่าแล้วจะควบคุมยังไง?
ไม่ยาก ถ้าเราจำเรื่อง Modifier ได้ ถ้า Attribute ไหนที่ใช้แค่ใน Class ตัวเองก็ใส่เป็น private ซะก็จบ ส่วนอันไหนที่ Class ลูกต้องใช้ก็ใส่เป็น protected ซะก็จบ เช่น ใน Class dog ผมแก้

String owner_name;
[/code]

เป็น

[code language="java"]
private String owner_name;

เราก็จำกัดเรื่องของการเข้าถึงได้แล้ว มีแค่นี้เลยเรื่องของ Encapsulation ทีนี้มันก็อยู่ที่เราเขียนแล้วว่า เราจะเขียนแล้วออกมาเป็นยังไง อยู่ที่การออกแบบของตัวเราครับ
ถามว่าแล้วไอ้ที่ว่ามายาวๆเนี่ยมันสำคัญยังไงล่ะ?
พวกนี้เป็นสมบัติที่มากับภาษาที่เป็น OOP มันทำให้เราเขียนโค๊ตสั้นลงเยอะเลยครับ เช่นผมมี Object ตัวหนึ่งแล้วมี Class ลูกสัก 100 ตัว นั่นคือผมเขียนโค๊ตน้อยลงไปเท่ากับ จำนวนบรรทัด Class แม่ คูณด้วย 100 เลยนะ และยังป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดได้ง่าย เช่นวันนึงผมเขียนผิดอุ๊ย! ไปเล่นกับ Class แปลกๆทำให้โปรแกรมรวนไปหมด OOP นั้นออกแบบมาเพื่อให้มัน Scale ได้ง่าย โปรแกรมันจะออกแบบเป็นส่วนๆ เวลาเราจะ Extend โปรแกรมเราออกไป ก็จะง่ายมากๆเลย แค่เขียน Module เพิ่มแล้วก็เชื่อมต่อกับ Module ตัวเก่าเท่านั้นเอง ไม่ยากเลย มันทำให้การเขียนโปรแกมที่ใหญ่ได้ ง่ายขึ้น และเร็วขึ้นนั่นเอง.
สุดท้ายของวันนี้และ เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเรื่องนึงของการเขียน Java เพราะว่า Java เป็นภาษาที่ค่อนข้าง OOP จ๋าอยู่ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ควรจะแม่นนะครับ ถ้ามีคำถามก็เมลมาก็ก็เฟสมาก็ได้นะครับ จะพยายามตอบให้
Source Code : https://drive.google.com/folderview?id=0BwrPA9Miv4o2THBWeFNYQ1ZPaHc&usp=sharing

Read Next...

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

การใช้ Docker CLI ในการจัดการ Container เป็นท่าที่เราใช้งานกันทั่วไป มันมีความยุ่งยาก และผิดพลาดได้ง่ายยังไม่นับว่ามี Instance หลายตัว ทำให้เราต้องค่อย ๆ SSH เข้าไปทำทีละตัว มันจะดีกว่ามั้ย หากเรามี Centralised Container Managment ที่มี Web GUI ให้เราด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ Portainer กัน...

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

ปกติหากเราต้องการจะเปิดเว็บสักเว็บ เราจำเป็นต้องมี Web Server ตั้งอยู่ที่ไหนสักที่หนึ่ง ต้องใช้ค่าใช้จ่าย พร้อมกับต้องจัดการเรื่องความปลอดภัยอีก วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการที่ง่ายแสนง่าย ปลอดภัย และฟรี กับ Cloudflare Tunnel ให้อ่านกัน...

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

เวลาเราทำงานกับข้อมูลอย่าง Pandas DataFrame หนึ่งในงานที่เราเขียนลงไปให้มันทำคือ การ Apply Function เข้าไป ถ้าข้อมูลมีขนาดเล็ก มันไม่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าข้อมูลของเราใหญ่ มันอีกเรื่องเลย ถ้าเราจะเขียนให้เร็วที่สุด เราจะทำได้โดยวิธีใดบ้าง วันนี้เรามาดูกัน...

ปั่นความเร็ว Python Script เกือบ 700 เท่าด้วย JIT บน Numba

ปั่นความเร็ว Python Script เกือบ 700 เท่าด้วย JIT บน Numba

Python เป็นภาษาที่เราใช้งานกันเยอะมาก ๆ เพราะความยืดหยุ่นของมัน แต่ปัญหาของมันก็เกิดจากข้อดีของมันนี่แหละ ทำให้เมื่อเราต้องการ Performance แต่ถ้าเราจะบอกว่า เราสามารถทำได้ดีทั้งคู่เลยละ จะเป็นยังไง เราขอแนะนำ Numba ที่ใช้งาน JIT บอกเลยว่า เร็วขึ้นแบบ 700 เท่าตอนที่ทดลองกันเลย...