Tutorial

นานาสาระกับ Middleware ใน Laravel

By Arnon Puitrakul - 30 กรกฎาคม 2016

นานาสาระกับ Middleware ใน Laravel

ผมเชื่อว่า ใครที่พึ่งเริ่มเรียน หรือหัดใช้ Laravel สิ่ง ๆ หนึ่งที่พวกเราหลาย ๆ คนไม่น่าอยากเข้าไปยุ่งในตอนนั้นคือ Middleware มันดูเป็นอะไรที่ ลึกลับ ซับซ้อน มาก ๆ สำหรับผมตอนแรก ๆ เลย แต่พอเราได้ลองมาดูจริง ๆ แล้ว มันแค่หลอกตาเราเท่านั้นแหละ ง่ายมาก ๆ เลย วันนี้เราจะลองมาดูกันว่า มันคืออะไร และ ทำอะไรได้บ้าง

Middleware คืออะไร

ผมก็ไม่รู้จะนิยามมันว่ายังไงเหมือนกัน อธิบายให้มนุษย์เข้าใจ มันคือ ตัวกรอง ในเครื่องกรองน้ำเลย ในที่นี้มันทำหน้าที่ในการกรอง Request ต่าง ๆ ที่ User กดไป กดมา อยู่ใน App ของเรา

หลักการทำงาน(คร่าว ๆ ?)

เราลองมาดูการทำงานแบบผิว ๆ กัน ก่อนที่เราจะเข้าไปดูว่าโค๊ตจริง ๆ นั้นเป็นอย่างไร
ให้เรานึกภาพว่า Middleware แต่ละชั้นคือ ชั้นของหัวหอม, ปลายทางคือ ชั้นในสุด ของหัวหอมละกัน และตัวเราเป็น เข็ม ที่เจาะเข้าไป

Laravel_Middleware_2

วิธีการทำงานของมันนั้นง่ายมาก ๆ ถ้าเราต้องการเข้าไปหา ชั้นในสุด เราก็ต้องเจาะจากข้างนอกเรื่อย ๆ หรือก็คือ การผ่าน Middleware ไปทีละชั้นนั่นเอง ซึ่งในตัวมันเองก็จะมี Logic เพื่อเช็คเงื่อนไขต่าง ๆ ก็ว่าไป ตามสิ่งที่มันต้องทำ

ตัวอย่างเช่น Auth ที่ Laravel เตรียมมาให้ หน้าที่ของมันนั้นเรียบง่ายมาก แค่เช็คว่า User Login หรือยัง ถ้า Login แล้วก็ให้ผ่านไปที่ Middleware ตัวต่อไป ถ้ายัง ก็ให้โยนไปหน้า Login เท่านั้นเลย

Laravel Auth Middleware Process

ลองดูตัว Code กัน

Middleware จะอาศัยอยู่ใน App/Http/Middleware ถ้าเราเข้าไป เราจะเห็นไฟล์อยู่ 4 ไฟล์ พวกนั้นก็คือ Middleware ที่ Laravel นั้นเตรียมมาให้
หลัก ๆ แล้ว ส่วนการทำงานของ Middleware นั้นจะมีอยู่แค่ส่วนเดียวนั้นก็คือ Method ชื่อว่า handle
ถ้าเราลองเข้าไปดู Authenticate Middleware เราจะเห็นว่าใน Class นั้นมี handle Method อยู่แค่อันเดียวเท่านั้น
สิ่งที่มันรับเข้ามาคือ Request ค่าต่าง ๆ ที่ถูกส่งเข้ามา อันนี้น่าจะรู้อยู่แล้ว และ Closure ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือน Stack ที่จะบอกว่า หอมชั้นต่อไปคือใครนั่นเอง
ฉะนั้นการเราในบรรทัดสุดท้าย ที่ใน Code เขียนว่า

return $next($request);

มันคือการโยนค่าไปที่หัวหอม หรือ Middleware ชั้นต่อไปนั่นเอง ส่วนที่เหลือ ก็จะเป็น Logic ต่าง ๆ ก็ว่ากันไปว่าจะทำอะไร อยู่ที่ Middleware ตัวนั้น ๆ

การ Register Middleware

อยู่ ๆ การที่เราสร้างไฟล์แล้วเขียนขึ้นมาดื้อ ๆ เลยก็ไม่ได้ มันจะไม่ทำงาน วิธีคือ เราจะต้องทำการ Register มันก่อน เหมือนเป็นการบอกว่า เราจะใช้ Middleware ตัวไหนบ้าง
ซึ่งการ Register นั้นง่ายมาก ๆ เพียงแค่เราเข้าไปเติมบอกมันในไฟล์ Kernel.php ที่อยู่ใน App/Http เมื่อเราเข้ามาในไฟล์แล้ว อยากให้สนใจที่ Array 3 ตัว มันจะต่างกัน ยังไง ลองไปทีละดูกัน
ตัวแรก เราเรียกมันว่า Global Middleware เป็นส่วนที่บอก Laravel ว่า ก่อนจะเรียก Request ทุกอย่าง จะต้องผ่าน Middleware พวกนี้เสมอ ซึ่งเราก็สามารถสร้าง แล้วเอามาเติมได้เช่นกัน

protected $middleware = [
        \Illuminate\Foundation\Http\Middleware\CheckForMaintenanceMode::class,
    ];

ตัวถัดไป เราเรียกมันว่า Middleware Group เป็นการแยกกันเลยว่า ถ้า Request ที่เรียกมานั้นเป็น Web ให้มันรันอะไรบ้าง และถ้าเป็น API ให้รันอะไรบ้างก็เติมลงไปในนี้ได้เลย เช่น StartSession ที่เป็นการเปิด Session เวลาเราเรียก API เราไม่จำเป็นต้องใช้ ฉะนั้นบนฝั่งของ API ก็ไม่จำเป็นต้องเรียกเปิดนั่นเอง
พูดง่าย ๆ คือ มันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ Web จะต้องเรียกเสมอ และอีกส่วนคือส่วนที่ API จะต้องเรียกเสมอ แยกกัน

protected $middlewareGroups = [
        'web' => [
            \App\Http\Middleware\EncryptCookies::class,
            \Illuminate\Cookie\Middleware\AddQueuedCookiesToResponse::class,
            \Illuminate\Session\Middleware\StartSession::class,
            \Illuminate\View\Middleware\ShareErrorsFromSession::class,
            \App\Http\Middleware\VerifyCsrfToken::class,
        ],

        'api' => [
            'throttle:60,1',
        ],
    ];

และสุดท้ายคือ Route Middleware ตัวนี้ไม่ใช่ว่า เรา Register มันในนี้แล้วจะใช้ได้ทันทีนะ ถ้าเราจะใช้ เราต้องเข้าไปกำหนดใน Route ด้วยว่า เราจะใช้นะ เราถึงต้องกำหนดชื่อให้มันนั่นเองเช่น auth ที่เป็นการเช็คในเรื่องของ Authenticate ต่าง ๆ เป็นต้น

protected $routeMiddleware = [
        'auth' => \App\Http\Middleware\Authenticate::class,
        'auth.basic' => \Illuminate\Auth\Middleware\AuthenticateWithBasicAuth::class,
        'can' => \Illuminate\Foundation\Http\Middleware\Authorize::class,
        'guest' => \App\Http\Middleware\RedirectIfAuthenticated::class,
        'throttle' => \Illuminate\Routing\Middleware\ThrottleRequests::class,
    ];

ซึ่งวิธีการใช้นั้นง่ายมาก ๆ สมมุติว่า เรามี Route ที่หน้าแรกละกัน แล้วเราต้องการใช้ auth เราก็แค่สั่งไปว่า

Route::get('/'['middleware' => 'auth', 'uses' => function(){

});

แค่นี้เลย ก่อนที่มันจะเข้าไปเรียก Function ใน Route มันก็จะเข้าไปใน auth ก่อนนั่นเอง
หรืออีกวิธี เราสามารถควบคุมในระดับ Controller ได้ด้วย โดยการไปใส่ไว้ใน Constructor ของ Controller นั้น ๆ ได้ด้วย
ถ้าเรารู้จัก Constructor มันคือ Method แรกที่จะถูกเรียกทุกครั้งเวลาเราสร้าง Object จาก Class นั้น ๆ ฉะนั้นถ้าเราเอาไปใส่ไว้ในนั้นก็เป็นเหมือนกับการบังคับเรียกทุกครั้งที่เราเข้าถึง Controller ตัวนั้น ๆ นั่นเอง เช่น

    public function __construct()
    {
      $this->middleware('auth');
    }

เขียนมาอาจจะ งง ว่ามันเกี่ยวกันยังไง หรือว่า มันจะเรียกอันไหนบ้าง สรุปคือ Laravel มันจะเรียกทุกชนิดเลย ตามประเภทของ Request ที่เข้ามา

การสร้าง Middleware ใช้เอง

นอกจากที่เราจะใช้จากที่ Laravel ให้เรามาแล้ว เราสามารถที่จะสร้างมันขึ้นมาใช้เองได้้ด้วยวิธีคือ เรียกคำสั่งด้านล่างนี้ใน Command Line ได้เลย

php artisan make:middleware ชื่ออะไรก็แล้วแต่

เราก็จะได้ไฟล์ตัวนึงขึ้นมา เราก็เขียน Logic ที่เราต้องการลงใน handle method ได้เลย และสุดท้าย ห้ามลืม ต้องไป Register ลงใน Kernel ด้วย ไม่งั้นมันจะไม่รันนะ

สรุป

ในบทความนี้อาจจะไม่ได้ลงลึกอะไรมากเท่าไหร่ แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เราได้ไปรู้จักกับสิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Middleware คร่าว ๆ รวม ๆ แล้วมันเป็น ตัวกรอง Request ต่าง ๆ ที่เข้ามา ผ่านเข้าไปทีละชั้น ๆ เรื่อย ๆ เหมือนหัวหอม
โดยเราสามารถสร้างมันขึ้นมา และเขียน Logic ต่าง ๆ ลงไปตามที่เราต้องการได้เลยเหมาะสำหรับ สิ่งที่เราต้องการจะเรียกก่อนที่จะให้ Controller เริ่มทำงาน อาจจะเป็นการตรวจสอบ หรือ การทำงานต่าง ๆ ก็ว่ากันไปตามที่ใจต้องการ
โพสต์นี้ก็เขียนไม่ยาวมาก เพราะเราไม่ได้เจาะลึกอะไร แต่ถ้าอยากให้เขียนเจาะลึกก็ Comment เข้ามา เดี๋ยวจะเขียนให้อ่านกัน หรือ ถ้าใครมีคำถามอะไรสงสัยสามารถ Comment ด้านล่างได้เลย ไม่กัด ฉีดยาแล้ว เดี๋ยวจะเข้ามาตอบให้นะครับ!

Read Next...

Synology NAS และ SSD Cache จำเป็นจริง ๆ เหรอ เหมาะกับระบบแบบใด

Synology NAS และ SSD Cache จำเป็นจริง ๆ เหรอ เหมาะกับระบบแบบใด

ใน Synology NAS มีความสามารถนึงที่น่าสนใจคือ การใช้ SSD เป็น Cache สำหรับระบบ ที่ทำให้ Performance ในการอ่านเขียน เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก ๆ แน่นอนว่า เราลองละ วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า หากใครคิดที่จะทำ มันเหมาะ หรือ ไม่เหมาะกับการใช้งานของเรา...

ฮาวทูย้าย Synology Add-on Package ไปอีก Volume

ฮาวทูย้าย Synology Add-on Package ไปอีก Volume

เรื่องราวเกิดจากการที่เราต้องย้าย Add-on Package ใน DSM และคิดว่าหลาย ๆ คนน่าจะต้องประสบเรื่องราวคล้าย ๆ กัน วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการว่า เราทำยังไง เจอปัญหาอะไร และ แก้ปัญหาอย่างไรให้ได้อ่านกัน...

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

การใช้ Docker CLI ในการจัดการ Container เป็นท่าที่เราใช้งานกันทั่วไป มันมีความยุ่งยาก และผิดพลาดได้ง่ายยังไม่นับว่ามี Instance หลายตัว ทำให้เราต้องค่อย ๆ SSH เข้าไปทำทีละตัว มันจะดีกว่ามั้ย หากเรามี Centralised Container Managment ที่มี Web GUI ให้เราด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ Portainer กัน...

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

ปกติหากเราต้องการจะเปิดเว็บสักเว็บ เราจำเป็นต้องมี Web Server ตั้งอยู่ที่ไหนสักที่หนึ่ง ต้องใช้ค่าใช้จ่าย พร้อมกับต้องจัดการเรื่องความปลอดภัยอีก วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการที่ง่ายแสนง่าย ปลอดภัย และฟรี กับ Cloudflare Tunnel ให้อ่านกัน...