Tutorial

Programming 101 - 2-Days Miracle

By Arnon Puitrakul - 27 พฤศจิกายน 2017

Programming 101 - 2-Days Miracle

หลังจากที่ได้เขียน Programming 101 ในอันก่อนเรื่องที่บอกว่า ทำยังไงถึงเราจะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว (นี่ ๆ อ่านได้ที่ลิงค์นี้)วันนี้เลยจะมาแชร์ทริก ไม่รู้เหมือนกันมันคืออะไร ผมคิดขึ้นมาใช้เอง ผมเรียกมันว่า 2-Days Miracle

เวลามีน้อยใช้สอยอย่างประหยัด

จริง ๆ ทริก (เรียกว่าทริกละกัน ไม่รู้จะเรียกอะไร) มันเกิดจากตอนเปิดเทอมก็ต้องเขียนงานหลายอย่าง ทำการบ้านอีก เรียนอีก ทำให้ไม่ค่อยมีเวลามานั่งเรียนเทคโนโลยีใหม่ ๆ เลย วันว่างมันจะมีอยู่แค่ เสาร์ และอาทิตย์ 2 วันเท่านั้น ด้วยความที่มันมีเวลาแค่ 2 วัน และความเซี้ยนส่วนตัวจากการที่อยู่ในโลกมืดเรียน ทำการบ้านและแข่งโน้นนี่นั่นอยู่หลายเดือนไม่ได้เรียนอะไรใหม่ ๆ สักเท่าไหร่เลยกะว่าจะมาเอาคืนให้สาสมใจ เลยบอกตัวเองว่า อย่างน้อยอาทิตย์นึง เราควรจะได้อะไรใหม่ ๆ มาละ อย่างที่บอกว่ามีแค่ 2 วัน ถามว่า อ้าวแล้วทำไงดีละ ? มันจึงทำให้เกิดสิ่งที่ผมเรียกว่า 2-Days Miracles

เริ่มยังไงดี ???

หลาย ๆ ครั้งที่เราจะเริ่มเรียนรู้อะไรบางอย่างใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเรียนมาก่อน คำถามแรกที่เรามักจะถามบ่อย ๆ หรือสำหรับบางคนที่จับต้นชนปลายไม่ถูกจนเลิกล้มไปมักจะเริ่มด้วยคำถามว่า

เริ่มยังไงดี ?

ก้าวแรกมักจะเป็นก้าวที่ก้าวยาก เท่าที่สังเกตตัวเองหลาย ๆ ครั้งจะพบว่า คำถามนี้มักจะเกิดกับเวลาเราเรียนอะไรที่มันใหม่แบบ โคตรใหม่ ไม่เคยมีพื้นฐานอะไรพวกนี้มาก่อน อารมณ์มันเหมือนเวลาเราเล่นเกม ที่เราจะสามารถอัพ Skill ของตัวละครที่เราเล่นได้ แต่จู่ ๆ เราจะอัพอันหลัง ๆ เลยก็ไม่ได้ใช่ม่ะ เราต้องค่อย ๆ อัพขึ้นไปเรื่อย ๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงก็เช่นกัน เราก็ต้องค่อย ๆ อัพขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อคำถามนี้เกิดขึ้นเราควรที่จะหา Keyword ที่เราไม่รู้ และค่อย ๆ ย้อนกลับไปแบบนี้เรื่อย ๆ ก็เหมือนกับที่เราค่อย ๆ อัพ Skill อันล่าง ๆ มาก่อนนี่ละ เท่าที่ผ่านมามันก็ช่วยได้ดีเลยละ มันทำให้เราเห็นเรื่องนึงที่เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ไม่ว่ากับใน Area ไหน ๆ ไม่ใช่แค่ฝั่ง IT เท่านั้นคือ พื้นฐานคือสิ่งสำคัญ หลาย ๆ คนเห็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็ไปหยิบไปใช้กันอย่างมั่วซั่ว แต่เราอาจจะหลงลืมไปแล้วหรือยังว่า มันมาได้ยังไง มันมาจากไหน

รากเง้าคือสิ่งสำคัญ

เมื่อกี้ได้บอกว่า พื้นฐานคือสิ่งสำคัญ ถ้าให้เทียบมันก็เหมือนกับรากเง้านี่แหละ เช่นเราบอกว่า เราอยากเรียนเกี่ยวกับ Computer ถามว่า ถ้าเราไม่รู้ว่ามันมาได้ยังไง มันมาจากไหน เราจะเข้าใจมันมั้ย ก็คงตอบได้ว่า มันก็พอได้แหละ แต่เราก็จะเข้าใจมันอยู่แค่ตรงนี้ไม่ได้ไปไหนต่อเหมือนกับเราเป็นแค่ User คนนึง การเรียนที่มาของมันเป็นพื้นฐานที่จะเชื่อมโยงให้เราเข้าใจสิ่งที่เรากำลังศึกษาได้ดีขึ้น และทำให้เราเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นจนสามารถยกระดับจาก User กลายเป็น Developer ที่จะนำความรู้รากเง้าเหล่านี้มาสร้าง มาพัฒนาเพิ่มเติมให้เป็นสิ่งที่ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือพยายามเชื่อมกับสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วด้วย พยายามมองภาพรวมทั้งหมดของเรื่องให้ออก เหมือนกับที่เราเห็น Skill Tree ในเกมนั่นแหละ ฉะนั้นเวลาผมเรียนอะไรใหม่ ๆ ผมจะค่อย ๆ เรียนเทคโนโลยีที่เป็นฐานก่อนแล้วค่อยกระโดดไปเรียนสิ่งที่มันพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ ว่าแต่ละอย่างมันมีข้อดีข้อเสียยังไง ทำไมเขาถึงพัฒนาอันใหม่ขึ้นมาละ แต่ก็ไม่ต้องไปขนาดนั่งเขียน Assembly ก็ไม่ขนาดนั้นนะ (เอาจริงก็เขียนได้อยู่นะ) ก็ให้เราเรียนเท่าที่เราจำเป็นละกัน ไม่ต้องขนาดลงไปอะไรกับมันมากขนาดนั้น เอาให้เราสามารถต่อยอดได้ก็พอ

นิสัย !!

หัวข้อนี้ไม่ได้ด่านะ ฮ่า ๆ แต่ ไม่รู้สิ เวลาเรียนอะไรไปเยอะ ๆ แล้วเหมือนแต่ละเรื่องมันก็มี นิสัย เป็นของตัวเอง เหมือนกับที่เราเรียนภาษา Programming การเรียน Syntax ของมันใคร ๆ ก็ทำได้ แต่ Best Practice ของมันสิ ว่าจะเลือกใช้อะไรตรงไหน เมื่อไหร่ ตรงนี้จะเขียนยังไงดีนะ อันนี้สิยาก ผมเปรียบเทียบตัว Syntax มันก็เหมือน Anatomy ของร่างกาย ส่วน Best Practice ก็เหมือนกับ จิตใจ นิสัย ของภาษานั้น ๆ ฉะนั้นการที่เราจะเข้าใจมันได้อย่างถ่องแท้ ที่พร้อมสำหรับการเอาไปลง Production คือการที่เราต้องเข้าใจ Anatomy ของ นิสัยของมันอย่างจริงจังซะก่อน ยกตัวอย่างเป็นภาษา Programming อีก เวลาที่เราเรียน เรามักจะเริ่มเรียนที่ Syntax ของมันก่อนละสินะ !! และหลาย ๆ คนมักจะจำมันไปเรื่อย ๆ และสุดท้ายมันก็จะไปจบที่ ไม่เข้าใจ ก๊อป ๆ ไปละกัน

ลงมือทำ

ไม่มีวิธีไหนที่จะทำให้เราเข้าใจเท่ากับการลงมือทำอีกแล้ว แรก ๆ เราอาจจะเริ่มจากการก๊อปจากตัวอย่างนี่แหละ แต่ไม่ใช่ว่าก๊อปแล้วรันแล้วจบ ทำแบบนั้นนี่ไม่ได้ช่วยอะไรเลย อย่าหลอกตัวเองไปเลยว่า การที่รันได้แล้วจะจบ อย่าลืมที่จะค่อย ๆ ทำความเข้าใจด้วยว่า ทำไมเขาต้องเขียนแบบนั้นเป็นตัวอย่าง ค่อย ๆ วิ่งเข้าไปในแต่ละ Feature แต่ละ Function ว่ามันทำงานยังไง ให้อะไรมัน แล้วได้อะไรกลับมา และค่อยไปอ่าน Best Practice เมื่อเราเริ่มเข้าใจนิสัยของมันมากขึ้นแล้ว

สรุป

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อาจจะงง ว่าเขียนอะไรอยู่ฟร๊ะ !! ขอสรุปเป็นแบบนี้ละกัน การเรียนอะไรสักอย่างจุดที่น่าจะยากและน่ากลัวที่สุดน่าจะเป็น การเริ่มต้น ก็อยากให้นึกถึงเวลาเราเล่นเกม เราต้องค่อย ๆ อัพไปทีละ Skill ขึ้นไปเรื่อย ๆ และอย่าลืมที่จะไม่ละเลยรากเง้าของมัน จากนั้นก็ค่อย ๆ ลงลึกลงไปถึง นิสัยของมัน ว่ามันมักจะมีหน้าตาเป็นยังไง อะไรดี อะไรไม่ดี สำหรับมัน และสุดท้าย ท้ายสุดเพื่อให้เราเข้าใจมากขึ้น เราก็ต้องเอาสิ่งที่เราค่อย ๆ อ่านมารวบรวมมาใช้ในการลงมือทำ ทดลองสร้างอะไรที่มันง่าย ๆ แล้วก็ค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปเรื่อย ๆ

ทริกนี้เป็นอะไรที่ผมใช้อยู่ทุกวัน อย่างที่เห็นผลเลยคือเรื่องของการสร้าง Wordpress Theme ถ้าจำเวอร์ชั่นแรกของ PaperTheme ได้นั่นแหละ ผมใช้เวลาในการนั่งเรียนวิธีการทำ เข้าใจโครงสร้างของมัน และสร้างออกมาเป็น PaperTheme ที่เราเห็นในเวอร์ชั่นแรก โดยใช้เวลาแค่ 2 วันเท่านั้นเอง กับอีกอันนึีงคือ Laravel สารภาพเลยว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยถนัด Framework แต่ด้วยความเข้าใจกับ PHP อยู่แล้วเลยทำให้ใช้เวลาไม่นานก็เข้าใจ Laravel ได้อย่างง่ายดายเลยละ

Read Next...

ฮาวทูย้าย Synology Add-on Package ไปอีก Volume

ฮาวทูย้าย Synology Add-on Package ไปอีก Volume

เรื่องราวเกิดจากการที่เราต้องย้าย Add-on Package ใน DSM และคิดว่าหลาย ๆ คนน่าจะต้องประสบเรื่องราวคล้าย ๆ กัน วันนี้เราจะมาเล่าวิธีการว่า เราทำยังไง เจอปัญหาอะไร และ แก้ปัญหาอย่างไรให้ได้อ่านกัน...

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

จัดการ Docker Container ง่าย ๆ ด้วย Portainer

การใช้ Docker CLI ในการจัดการ Container เป็นท่าที่เราใช้งานกันทั่วไป มันมีความยุ่งยาก และผิดพลาดได้ง่ายยังไม่นับว่ามี Instance หลายตัว ทำให้เราต้องค่อย ๆ SSH เข้าไปทำทีละตัว มันจะดีกว่ามั้ย หากเรามี Centralised Container Managment ที่มี Web GUI ให้เราด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ Portainer กัน...

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

Host Website จากบ้านด้วย Cloudflare Tunnel ใน 10 นาที

ปกติหากเราต้องการจะเปิดเว็บสักเว็บ เราจำเป็นต้องมี Web Server ตั้งอยู่ที่ไหนสักที่หนึ่ง ต้องใช้ค่าใช้จ่าย พร้อมกับต้องจัดการเรื่องความปลอดภัยอีก วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการที่ง่ายแสนง่าย ปลอดภัย และฟรี กับ Cloudflare Tunnel ให้อ่านกัน...

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

จัดการข้อมูลบน Pandas ยังไงให้เร็ว 1000x ด้วย Vectorisation

เวลาเราทำงานกับข้อมูลอย่าง Pandas DataFrame หนึ่งในงานที่เราเขียนลงไปให้มันทำคือ การ Apply Function เข้าไป ถ้าข้อมูลมีขนาดเล็ก มันไม่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าข้อมูลของเราใหญ่ มันอีกเรื่องเลย ถ้าเราจะเขียนให้เร็วที่สุด เราจะทำได้โดยวิธีใดบ้าง วันนี้เรามาดูกัน...