Review

รีวิว Caldigit TS3 Plus Thunderbolt Dock สารพัดประโยชน์ที่ร้อนพอ ๆ กับไฟร่_น

By Arnon Puitrakul - 20 ธันวาคม 2021

รีวิว Caldigit TS3 Plus Thunderbolt Dock สารพัดประโยชน์ที่ร้อนพอ ๆ กับไฟร่_น

อุปกรณ์ที่เรามองอยู่หลายปีมาก ๆ เพราะไม่รู้ว่าซื้อมาแล้วจะเอามาทำอะไร มันแพงเหลือเกิน นั่นคือ Thunderbolt Dock ถ้าเทียบกับ USB-C Dongle เอาจริง ๆ คือ ราคาต่างกันลิบเลย แทบจะ 10 เท่าได้เลย ทำให้เราก็ได้แค่มอง Thunderbolt อยู่ลิบ ๆ จนตอนนี้แหละกัดฟัน เอาว่ะ ไหน ๆ ก็จะเปลี่ยนเป็น Macbook Pro 14-inch M1 Max (รออ่านรีวิวได้เดือนหน้า) เครื่องเดียวแล้ว งั้นเราก็หาอะไรที่มันต่อจอ กับอุปกรณ์ต่าง ๆ บนโต๊ะได้ง่าย ๆ ละกัน เลยมาจบในรุ่นที่มองตาปริบ ๆ เมื่อหลายปีก่อนคือ Caldigit TS3+ Thunderbolt Dock สารพัดประโยชน์จาก Caldigit

แกะกล่องกันก่อน

ตัวกล่องทำมาไม่ได้ใหญ่มาก น่ารัก ๆ เป็นกระดาษทั่ว ๆ ไปเลย ไม่ได้มีอะไรพิเศษ ที่หน้ากล่องก็จะมีหน้าตาของตัว Hub พร้อมกับด้านล่างซ้ายเขียนไว้ชัดเลยว่าเป็น Thunderbolt ด้วย ส่วนด้านบนขวา ก็เขียนรุ่นไว้อีกว่ามันคือ TS3 Plus เพราะมันเคยมีรุ่นก่อนหน้าคือ TS3 ธรรมดา ซึ่งเราว่าน่าจะไม่มีปัญหาเรื่องความสับสนนะ เพราะเราหารุ่นก่อนหน้าไม่ได้แล้ว มันเก่ามาก ๆ แล้ว กับพวก Port ด้านหน้ามันก็ต่างแล้ว คนน่าจะพอสังเกตได้อยู่

ด้านข้างซ้ายของกล่องก็จะเป็นรูปสำหรับแสดงพวก Port Configuration ต่าง ๆ เราจะเห็นได้เลยว่า มันมี Port ให้เราเสียบเยอะมาก ๆ จริง ๆ ตั้งแต่พวก SD Card จนไปถึงพวก Ethernet และ DisplayPort เลย

ด้านหลังของกล่องก็จะเป็นพวก Feature ของตัว Dock ในหลาย ๆ ภาษา มีภาษาไทยด้วยนะอยู่ด้านขวามือ

ด้านข้างขวาของกล่องเป็นรายละเอียดของ Dock ถึงพวก Port ต่าง ๆ รวมไปถึงการต่อจอออก การจ่ายไฟ และ พวกของที่มาในกล่องว่ามีอะไรบ้าง ถ้าเราดูดี ๆ เราจะเห็นได้เลยว่า มันสามารถที่จะส่งภาพ 5K กับ 4K ได้ด้วย นอกจากนั้นยังสามารถชาร์จ Laptop เราที่ 87W ด้วย ก็ชาร์จพวก Macbook Pro M1 14-inch เกือบ ๆ จะ Fast Charge เลย หรือพวก M1 ปกติได้หมดแบบเต็มความเร็วเลย แต่ถ้าเป็น Macbook Pro 16-inch ที่เป็น M1 Pro และ Max อาจจะช้านิดนึง เพราะ Adapter ที่มาในกล่องเขา 140W เลย แต่อันนี้ได้แค่ 87W เราว่าชาร์จเข้าปกติแหละ แค่ช้าหน่อย

ส่วนด้านบนของกล่องก็จะบอกชื่อรุ่น พร้อมกับ สรุป Feature ต่าง ๆ ของตัว Dock เช่น มี 15 Port, เสียบ SD Card ได้ถึง UHS-II ไปเลย หรือจะเป็นพวกการเสียบ Ethernet และช่องเสียบ Optical Audio

เปิดกล่องออกมา เราจะพบกับความ อิหยังว้าาา คือของมันเยอะไปหมดจนเบลอเลย เรามาค่อย ๆ ลงดูทีละอันกัน

2 ชิ้นแรกเป็นพวก ขอบคุณที่ซื้อของจากเรานะ กับพวกคูปองสำหรับลด 20% ในการซื้อของผ่านหน้าเว็บของ Caldigit ซึ่งเอาจริง ๆ เราก็ไม่น่าซื้อเพราะถ้าซื้อแพงแน่ ๆ และมั่นใจว่าภาษีบาน ก็เลยนอนกล่องไปละกันนะ ไม่ได้ทำอะไรกับมัน ก็เป็น Paper นอนกล่องไปละกันนะ

ถัดไปเป็น Paperwork คู่มือการใช้งานตัว Dock นี้ คือมันบางมาก ๆ เราไม่ได้เห็นของชิ้นแพง ๆ ที่มีคู่มือสั้น ๆ มานานมากแล้ว แต่ก็นะ Thunderbolt Dock มันจะมีอะไรเยอะแยะมันก็น่าจะแค่เสียบใช้ก็จบแล้วแหละ

เพราะ Caldigit TS3 Plus มันสามารถวางตั้งและนอนได้ ทำให้เขาจะต้องเผื่อว่าเราวางนอนไว้ด้วย เลยให้ยาวเส้นที่เอาไว้ติดกับตัว Dock เพื่อไม่ให้ตัวมันสัมผัสพื้นโต๊ะเรา ก็ช่วยเรื่องรอยบนโต๊ะได้ด้วย และยังช่วยเรื่องการระบายความร้อนได้อีก (Dock ตัวนี้บอกเลยว่าร้อนจริงอะไรจริงมาก ๆ) เป็นยางขุ่นเส้นเล็ก ๆ เลยเดี๋ยวจะบอกว่ามันติดยังไง ไม่ยากด้วย เอาออกได้ด้วย

อย่างที่เราบอกว่า มันจ่ายไฟได้ด้วย ดังนั้นมันจะต้องมีสายไฟแน่นอน สายไฟอันนี้จะเป็นเส้นที่เสียบจาก Adapter อีกทีนะ ก็จะเป็นสายไฟปกติที่เราเห็นกันได้ทั่ว ๆ ไปอันนี้ไม่ได้มีอะไรพิเศษขนาดนั้นนะ

ส่วนหัว เราไม่ต้องห่วง เพราะมันเป็นหัวแบน กับสายดินหัวกลม ก็เข้าได้กับพวกปลั๊กในไทยได้ปกติ โดยที่เราไม่ต้องหาตัวแปลงมาเสียบแต่อย่างใด

เกือบสุดท้ายแล้วก็จะเป็น Adapter สำหรับจ่ายไฟ น้ำหนักมันไม่ได้เยอะนะ แต่หยิบออกมาคือต้องชะงักเลย ตกใจกับน้ำหนักมาก ๆ ว่ามันใหญ่ได้ขนาดนั้นเลยเหรอมันต้องจ่ายกี่ร้อย Watts เนี่ย ใหญ่ลืมมม

ด้านหลังเขามี Specification เขียนอยู่ก็จะจ่ายที่ 20V/9A หรือก็คือ 180W เข้ !!!!!! เยอะมาก ๆ แต่ก็เข้าใจได้ เพราะตัว USB-C ที่เสียบเข้า Laptop มันก็ 87W แล้วอีกเกือบ ๆ 100W ก็น่าจะเป็นส่วนที่ใช้จ่ายไฟผ่าน USB แหละ มีหลาย Port ก็หัวละ 5W แล้วกับตัว Thunderbolt Controller เราว่ามันน่าจะกินไฟไม่น้อยอยู่นะ ให้มา 180W มันก็ดูเยอะ แต่ถ้าเอามาดูว่าเราเสียบอะไรบ้างก็น่าจะเข้าใจได้อยู่

และสุดท้ายขาดไม่ได้เลยคือสาย Thunderbolt 3 เส้นที่เขาให้มามันเป็นเส้นสั้น ๆ นะ ซึ่งดีแล้ว เพราะพวกนี้เราไม่ควรใช้สายที่ยาวนะ เพราะมันทำให้ความเร็วตกได้ มันจะมีระยะที่แนะนำอยู่ไม่กี่สิบเซนเอง ซึ่งสายนี้น่าจะราว ๆ 30cm ได้มั้งนะ ประมาณ ๆ เอา

อะ อ้าว หมดแล้ว ไหนของละ ฮ่า ๆ ด้านล่างเมื่อเราเอาของออกหมดแล้ว เราจะเจอกับ Quick Start Guide ว่าเราจะต้องต่ออะไรยังไงบ้าง เช่นพวกเสียบ Adapter เข้ากับ Hub กับเสียบ Thunderbolt เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ก็เป็นอันเรียบร้อยใช้งานได้แล้ว

อาจจะ งง ว่าแล้ว Hub ไปไหน ก็คือ เราจะต้องเปิดฝาที่มี Quick Start Guide เมื่อครู่ออกมา แล้วเราก็จะเจอกับ Caldigit TS3+ วางอยู่อย่างสวยงาม ทำกล่องมาดีนะพอดีกับตัว Hub เลยทำให้มันไม่น่าจะได้รับความเสียหายระหว่างขนส่งแน่ ๆ

ในกล่องของที่เราได้มา มันก็จะดูเยอะมาก ๆ เลยนะ เยอะกว่าเวลาเราไปซื้อพวก Dongle อะไรเยอะมาก แต่ทั้งหมดมันเป็นของที่เราต้องใช้หมดเลย ตั้งแต่พวก Adapter และพวกขอบยางสำหรับวางแนวนอนอะไรพวกนั้น แต่สิ่งที่เราว่าโอเค มันไม่จำเป็นต้องแถม แต่ก็แถมมาก็ดี คือสาย Thunderbolt เมื่อก่อนเราจำได้ว่าตอนที่มันออกมาใหม่ ๆ เวลาเราซื้ออะไรพวกนี้ มันจะไม่ชอบแถมสาย Thunderbolt มา ไม่รู้เป็นโรคอะไร เดี๋ยวนี้ดีหน่อยแถมมา ไม่งั้นหาซื้อยาก และ แพงมาก ๆ เลย

Caldigit TS3+

Caldigit TS3 Plus เป็น Thunderbolt Dock ตัว Top จาก Caldigit ที่มาพร้อมกับ Port การเชื่อมต่อที่ครบครันมาก ๆ เลยก็ว่าได้ ตัวมันทำจากอะลูมิเนียม ทำให้มันสามารถระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี ที่ด้านหน้า ไล่จากบนลงล่าง ก็จะเป็น Logo ของ Caldigit สีขาว ไม่ได้พิมพ์ลงไปในเนื้อของงานเลย ทำให้ใช้ไปหลาย ๆ ปี เราว่ามีลอกได้เลย ด้านล่างลงมาที่เป็นจุดเล็ก ๆ จะเป็นไฟสำหรับแสดงการใช้งาน ก็คือ ถ้าเราเสียบไฟ และ Thunderbolt เข้าแล้วมันจะมีไฟสีน้ำเงินขึ้นมาให้เรารู้

ลงมาอีกก็จะเป็นช่องสำหรับอ่าน SD Card แบบ UHS-II ที่ทำให้เราสามารถถ่ายข้อมูลออกมาได้ที่ความเร็วสูงสุด 310 MB/s ไปเลย (ขึ้นกับ Card ด้วยนะว่ารองรับเท่าไหร่) ทำให้เราสามารถที่จะถ่ายพวกวีดีโอความละเอียดสูง ๆ ขนาดใหญ่ ๆ ออกมาได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากพวก SD Card Reader โง่ ๆ ที่ความเร็วอาจจะไม่ได้สูงมากทำให้เสียเวลาในการถ่ายโอนไปเยอะมาก ๆ นอกจากนั้น ที่เราประทับใจมาก ๆ เพราะเราไม่ได้เจอมันมานานแล้วคือ SD Card Slot มันเป็นแบบมีสปริง ที่ว่าเวลาเราเสียบไปแล้วมันจะมีเสียงคลิ๊ก ล๊อคตัว Card ไว้เลย ถ้าเราไปดู SD Card Slot ที่อื่น ๆ เราไม่ค่อยเจอเลย แม้กระทั่ง Macbook Pro ตัว 2021 ก็ไม่มีเหมือนกันนะ

ถัดลงมาจะเป็นหัว Jack 3.5 สำหรับเสียบ หูฟัง และ Microphone แยกกันนะ อันนี้เรามองว่าสำหรับ Professional มันก็โอเคแหละถ้าจะแยกกัน เพราะเขาใช้แยกกันจริง ๆ แต่สำหรับเราที่ใช้รวมกันก็...... เอ่อ แห้ง ถ้าจะเสียบใช้พร้อม ๆ กันต้องไปหาหัวแปลงมาเสียบ แต่เอาเถอะเราไม่มีปัญหามาก เพราะเราใช้ USB DAC เป็นหลัก

และสุดท้ายสำหรับด้านหน้าจะเป็น USB-A และ USB-C อย่างละ Port โดยถ้าเราอ่านดี ๆ มันจะ Label เลยว่า มันหัวละ 5 Gbps เท่านั้นนะ โดยเฉพาะ USB-C ถ้าจะเสียบ USB-C ที่ต้องการความเร็วสูง ๆ เช่น NVMe Enclosure ไปเสียบด้านหลังเลย อันนี้เอาไว้เสียบอะไรที่ถอดเข้าออกบ่อย ๆ และไม่ได้ต้องการความเร็วสูงมากนัก

เมื่อเราหันด้านหลังของมันมานี่แหละ มหกรรมของ Port ที่แท้จริงเลย มีเยอะมาก ๆ ไล่จากด้านซ้าย ก็จะเป็นช่องสำหรับเสียบ Gigabit Ethernet หรือบ้าน ๆ เราเรียกสายแลนที่ความเร็ว 1 Gbps ด้านล่างของมันก็จะเป็นช่องสำหรับเสียบไฟเลี้ยงจาก Adapter

ไปที่ Column 2 ก็จะเป็นช่องสำหรับเสียบ Optical Audio สำหรับคนที่ใช้ ด้านล่างจะเป็น DisplayPort 1.4 ที่ Support จอ 4K 60Hz ได้สบาย ๆ เลย ส่วนด้านล่างที่เป็นรูปสายไฟฟ้าก็จะเป็นช่อง Thunderbolt โดยเวลาเราใช้งานดูดี ๆ นะ เพราะมันใช้แทนกันไม่ได้ โดยช่องแรกจะเป็นช่องสำหรับเสียบอุปกรณ์ Thunderbolt แบบ Daisy Chain คือต่อพ่วงไปเรื่อย ๆ ได้ถึง 6 อุปกรณ์พร้อม ๆ กัน ส่วนด้านขวาจะเป็นช่องสำหรับเสียบ Thunderbolt เข้าคอมพิวเตอร์ของเรา

และสุดท้ายก็จะเป็นกลุ่มของ USB ทั้งหลาย โดยจะมี USB-C ที่มีความเร็ว 10 Gbps ถ้าเรามีอุปกรณ์ที่เป็น USB-C ความเร็วสูง ๆ มาเสียบช่องนี้ได้เลย หรือจะเสียบเป็นพวกจอ 4K 60Hz ก็ได้เหมือนกัน เพราะ Dock ตัวนี้รองรับจอ 5K 60Hz 1 จอ หรือ 4K 60Hz 2 จอก็ได้หมด และสุดท้ายก็จะเป็น Port USB-A จำนวน 4 Port จุก ๆ ไปเลย สำหรับเสียบอุปกรณ์ในยุคก่อนหน้า ซึ่งความเร็วก็จะเท่ากับด้านหน้าเลยคือ 5 Gbps เท่านั้น

เราจะเห็นได้เลยว่า Port Configuration เขาเลือกมาดีจริง ๆ นะ มันเป็นช่องที่เราได้ใช้ซะเยอะมาก ๆ และคนทั่ว ๆ ไปจนถึง Mid-Professional ใช้กันจริง ๆ เลย เช่นพวก SD Card ต่าง ๆ และ Display Port ที่เราใช้กันรัว ๆ รวมไปถึงพวก USB-A ที่ให้มาเยอะมาก ๆ เราไปลองดูเจ้าอื่นที่เป็น Thunderbolt มันจะไม่เยอะเท่าตัวนี้เลย ทำให้เราต่อพ่วงพวกอุปกรณ์เก่า ๆ เช่นพวก External HDD ที่เป็น USB-A และพวกที่ใช้ความเร็วต่ำ ๆ อย่าง เมาส์ และ Keyboard ได้ง่าย ๆ เลย

ที่ด้านบน ก็จะทำมาเป็นโลหะเหมือนกันทั้งตัวเลย แต่ว่าจะมีการทำเป็นซี่ ๆ ไว้เยอะ ๆ เลย อันนี้เราเข้าว่าส่วนนึงมันก็เป็นเรื่องสไตล์แหละ แต่ที่สำคัญเลย น่าจะเอาไว้เพิ่มพื้นผิว สำหรับการระบายความร้อน เพราะมันร้อนมาก ๆ

ที่ตัวมันก็แล้วใหญ่เลย ทำมาเหมือนกับด้านบนเป๊ะ ๆ ระบายความร้อนล้วน ๆ แน่ ๆ

ส่วนด้านล่างจะทำมาไม่เหมือนกับด้านอื่น เขาจะเป็นยาง สำหรับคนที่อาจจะใช้งานในลักษณะของการตั้งเป็นหลัก ยางนี้ก็จะทำให้มันไม่ลื่น ๆ ไปกับโต๊ะของเราที่อาจจะทำให้ตัว Dock หรือโต๊ะเป็นรอยได้นั่นเอง ส่วนพวกที่พิมพ์อยู่บนผิวยาง มันก็ทำมาดีนะ ไม่ได้พิมพ์ทับ ๆ ลงไปตรง ๆ ทำให้ใช้ ๆ ไปนาน ๆ มันก็ไม่น่าจะลอกได้เลย

การใช้งาน

ในแง่ของการใช้งานจริง ๆ มันไม่ได้ต่างจาก Dongle เท่าไหร่ เสียบแล้วเราก็ส่งข้อมูลไปมาได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างเรามองว่าเป็นเรื่องของความเสถียรในการใช้งานดีกว่า เพราะปกติเวลาเราใช้งานพวก Dongle หลาย ๆ ตัวมันมี Port เยอะจริง ๆ นะ แต่ว่า พอเราใช้งานมันหนัก ๆ ใช้มันพร้อม ๆ กัน เช่นเรา Transfer File ลง External HDD 2 ตัว พร้อม ๆ กับ การอ่าน SD Card ไปด้วย บางทีมันก็ก๊อปผ่านหมด บางที Error ระหว่างทาง Disk หายไประหว่างทางก็มีเยอะมาก ๆ แต่พอมาใช้ Caldigit TS3 Plus เราลองโหลดหนัก ๆ แบบที่ใช้ทำงานจริง ๆ เราก็ไม่มีปัญหานั้นเลย ขนาดเราต่อจอ 4K 60Hz ผ่าน Display Port ด้วยมันก็ไม่มีปัญหา

ส่วนนึงเราคิดว่า มันอยู่ที่คุณภาพของ Controller ด้วย ถ้าเราไปดูในท้องตลาด เราจะเจอ USB-C Dongle หรือ Hub เยอะมาก ๆ บางก็มี Port เยอะ Port น้อย ราคาถูก ราคาแพง เวลาเราแนะนำ เราจะไม่ค่อยแนะนำให้ไปซื้อพวก Dongle ราคาถูก ๆ เพราะปัญหามันจะตามมาเยอะมาก ๆ เช่นว่า เสียบรูนี้กับรูนี้พร้อมกันไม่ได้นะ หรือใช้ ๆ ไปค้างอะไรแบบนั้น ปัญหาพวกนี้มันเกิดจาก Controller ที่มีประสิทธิภาพไม่ดีมากพอที่จะ Handle Bandwidth จากแต่ละ Port ได้อย่างเพียงพอ แล้วพอเจอกับ USB-C ที่ราคา Vary มาก ๆ ทำให้เรามีโอกาสที่จะเจอ Controller ห่วย ๆ ได้เยอะมาก ๆ แต่กลับกันพวก Thunderbolt มันมีน้อยมาก ๆ ราคาก็เดือดอยู่ ส่วนนึงเลยทำให้ Thunderbolt Controller คุณภาพมันไม่ได้ห่วยติดดินมากเท่าไหร่

ความร้อนแรงดั่งไฟร่_น

เรื่องที่เราเป็นห่วงมาก ๆ จากการใช้งานคือ ความร้อน ต้องเข้าใจก่อนว่า Thunderbolt ธรรมชาติของมันคือ ร้อนมาก ๆ อยู่แล้ว แล้วยิ่งมาเจอกับ Port เยอะ ๆ ที่แต่ละช่องต้องมีการจ่ายไฟอีก ก็คือ รัว ๆ ไปเลยจ้า ร้อนระอุแน่นอน โดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้ใช้งานในห้องแอร์แล้วชาร์จแบตคอมไปด้วยจับก็มีลวก ๆ นิด ๆ ได้เลย หรือถ้าห้องแอร์มันก็จะแอบร้อนหน่อย ๆ แต่ไม่ถึงกับลวกเหมือนตอนที่ไม่เปิดแอร์ แต่สิ่งที่ทำให้เราเป็นห่วงมาก ๆ คือ พอตัว Body มันร้อน แล้วเราเสียบ SD Card เข้าไปแปบเดียวเท่านั้นแหละ แค่นาทีกว่า ๆ แล้ว Copy รูปออกมา ถอดออกมาก็คือ ร้อนระอุเลย เรากังวลเรื่องของอายุของ Card มาก ๆ ว่าถ้ามันเจอความร้อนแบบนี้เยอะ ๆ จะทำให้เสื่อมเร็วมั้ย เพราะก่อนหน้านี้ Card Reader ที่เราใช้มันไม่ร้อนเลย ร้อนสุดก็น่าจะตอนเขียนไฟล์เวลาเราถ่ายแบบ Burst Shot บน RAW File รัว ๆ แค่นั้นเลย ร้อนสุดแค่นั้นไม่มากกว่านั้นแล้ว อันนี้คือ Break the new limit เลยนะ โหดมาก ๆ น่ากลัว

สรุป : ของดี แต่ไม่ดีสำหรับทุกคน

Caldigit TS3 Plus เป็น Thunderbolt Dock ที่มี Port Configuration ที่ดีมาก ๆ ในแบบที่ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง เกือบ ๆ Pro ต้องใช้ได้เลย ทำให้มันเป็น Dock ที่เรียกได้ว่าเป็น Central Dock สำหรับการเชื่อมต่อได้เกือบทุกรูปแบบเลย ประกอบกับการที่มันจ่ายไฟได้ถึง 86W ทำให้มันสามารถจ่ายไฟเข้ากับ Macbook Air M1, Macbook Pro 13 และ 14 (ได้ไม่เต็ม) ส่วน 16 อาจจะได้อยู่แต่มันจะช้าหน่อยเมื่อเทียบกับถ้าเราเสียบ Magsafe เพราะไฟมันไม่ถึงเนอะ ทำให้สุดท้ายเราจะได้ความเจ๋งของการเสียบสายเพียงเส้นเดียว ได้ทั้งไฟ และการขนส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก ๆ แต่ถามว่าจำเป็นสำหรับคนทั่ว ๆ ไปมั้ย เรามองว่าเอาเงินหมื่นนึงนี่ไปทำอย่างอื่นเถอะ แล้วไปซื้อ USB-C Dongle ธรรมดาน่าจะดีกว่าเยอะเลย แต่สำหรับ Professional ที่มีการโอนถ่ายข้อมูลขนาดใหญ่มาก ๆ ใช้จอความละเอียดสูง และต้องการความเถียรสูง ๆ เราว่าการลงทุนหมื่นนึงลงไป และใช้ทำงานระดับ Professional คือมันก็เป็นการลงทุนที่ดี เราเลยบอกว่า มันดีจริง ๆ แต่ไม่ได้ดีสำหรับทุกคนนั่นเอง

Read Next...

รีวิว Photomator App แต่งรูปรับจบทั้ง macOS, iPad และ iPhone มี AI ด้วยนะ

รีวิว Photomator App แต่งรูปรับจบทั้ง macOS, iPad และ iPhone มี AI ด้วยนะ

หลายปีที่ผ่านมาพยายามหาโปรแกรมอื่นมาแทน Lightroom เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่าย Subscription จนวันนี้เรามาเจอแล้ว ตัวเต่งเข้ามาที่หนึ่งตอนนี้เลย กับ Photomator จะแทนได้มั้ย อ่านได้ในรีวิวนี้เลย...

รีวิว DJI Mic 2 ไมค์สำหรับ Content Creator ที่ดีที่สุดในตอนนี้

รีวิว DJI Mic 2 ไมค์สำหรับ Content Creator ที่ดีที่สุดในตอนนี้

ก่อนหน้านี้เราตามหาระบบอัดเสียงที่เข้ากับการทำงานหลาย ๆ แบบของเรามานานมาก ๆ ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานสูง ต้องการให้รองรับกับอุปกรณ์หลาย ๆ ชิ้นได้ง่าย วันนี้เราเจอแล้วกับ DJI Mic 2 จะเป็นยังไงไปดูได้ในรีวิวนี้เลย...

รีวิว 2 ปีกับ ORA Good Cat และ Software ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

รีวิว 2 ปีกับ ORA Good Cat และ Software ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ไม่น่าเชื่อว่า เวลาผ่านไปเร็วขนาดนี้ ตอนนี้น้องไฟท์ หรือรถ ORA Good Cat มาอยู่กับเรา 2 ปีแล้ว วันนี้เราจะมารีวิวให้อ่านกันว่า 2 ปีที่ผ่านมา อะไรที่เป็นปัญหา และ ในรอบปีที่ผ่านมา เราเสียค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่กับรถคันนี้ไปบ้าง เผื่อจะเป็นข้อมูลสำหรับหลาย ๆ คน...

รีวิว Sony ECM-M1 โคตร Shotgun Microphone อเนกประสงค์ ได้หมดจบทุกงาน

รีวิว Sony ECM-M1 โคตร Shotgun Microphone อเนกประสงค์ ได้หมดจบทุกงาน

ก่อนหน้านี้ เราใช้ Wireless Microphone ถ่ายในห้องนอนเล็ก ๆ ของเรา ซึ่งต้องทั้งชาร์จแบต และเสียบเปิด เสียเวลา Setup พอสมควร ทำให้มองหาอะไรที่ง่ายกว่านั้น จนมาเจอกับ Sony ECM-M1 Shotgun Microphone ตัวเด็ดจาก Sony จะเป็นยังไงอ่านได้ในรีวิวนี้เลย...