Technology

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

By Arnon Puitrakul - 27 พฤศจิกายน 2023

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ตอนนี้เราอัดวีดีโอเยอะมาก เลยเปลี่ยนมาใช้ CFexpress เพื่อให้การย้ายไฟล์วีดีโอจากการ์ดไปที่คอมพิวเตอร์ทำได้เร็วมากขึ้น จากเดิม เราอัดรอบนึง อาจจะต้องใช้เวลาในการย้ายไฟล์หลักเกือบ 10 นาทีได้เลย มีการ์ดใหม่ ต้องมีเครื่องอ่านที่เร็วดึงประสิทธิภาพของการ์ดของมาได้เต็มที่ วันนี้เรากดมาแล้วกับ Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ต้องบอกเลยว่า พวก CFexpress Type A เป็นของ Rare และแพงมาก ๆ เพราะทั้งโลกมีเพียงเจ้าเดียวที่สรรหา หาทำใช้คือ Sony ในขณะที่เจ้าอื่นเขาใช้เป็น Type B กันหมดซึ่งราคาถูกกว่า หาง่ายกว่ามาก ทำให้เราไม่ค่อยมีตัวเลือกสักเท่าไหร่ เหลือที่เห็นหลัก ๆ น่าจะของ Sony เอง และ Lexar ราคาต่างกันจาก 4,290 บาท กลายเป็น 1,999 บาทเท่านั้น เลยเลือกของ Lexar มาลองดู (กดตอน 11.11 ในแอฟสีส้ม เราได้มา 1,220 บาทเท่านั้นเอง)

แกะกล่อง

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ตัวกล่องมาเป็นกล่องกระดาษทั่ว ๆ ไป แต่ปริ้นมาดีอยู่ ด้านหน้ามีรูปของตัวเครื่องอยู่ ด้านล่างจะบอกเลยว่า สำหรับ CFexpress Type A และ SD Card และยังบอกว่า รองรับ USB 3.2 Gen 2 ที่ให้ความเร็วสูงสุด 10 Gbps ด้านบนซ้ายมือจะมีสติ๊กเกอร์ Legend ที่เป็นผู้นำเข้า และรับประกันสินค้าของ Lexar

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ด้านหลังของกล่องเป็นพวกรายละเอียดต่าง ๆ บอกว่าในกล่องจะมีอะไรบ้าง และ ระบบที่รองรับมีอะไรบ้าง หลัก ๆ ถ้าใช้ macOS และ Windows ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่สำหรับ Linux อาจจะต้องลองดูอีกที กล่องไม่ได้เขียน และ เรายังไม่ได้ทดสอบด้วย

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ด้านข้างกล่องเขียนชัดเจนเลยว่า เป็นเครื่องอ่าน CFexpress Type A และ SD Card ที่เป็น USB 3.2 Gen 2 ย้ำชัดเจนมาก เราอยากให้เช็คดี ๆ เพราะ CFexpress มันมีทั้ง Type A และ B ซื้อมาผิดมันต่อกันไม่ได้เด้อ ขนาดต่างกันลิบลับเลย

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

หากเราซื้อมือหนึ่งตัวใหม่มาเลย เขาจะมีซีลปิดอยู่บริเวณฝากล่องด้วย หากซื้อมือหนึ่งแล้วมีการแกะซีลนี้มาแล้วให้ส่งกลับทันทีเลย ไม่รู้ว่าเจอของปลอมหรือมือหนึ่งย้อมแมวเอามือสองมาให้แทน แล้วประเด็นคือ Lexar ตากล้องรู้กันดีว่า ของปลอมเยอะนะบอกเลย

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Readervvv

แกะฝาเอาของออกมา เราจะพบกับถาดเพียงอันเดียวที่มี Card Reader วางอยู่อย่างเรียบร้อย ไม่มี Paperwork อะไรทั้งนั้น

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ของชิ้นเดียวที่แถมมาในกล่องคือ สาย USB สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ สายถือว่าทำมาหนาใช้ได้เลย มาพร้อมกับที่รัด เวลาเราเก็บลงกระเป๋าพบพาจะได้เป็นระเบียบเรียบร้อย แอบรู้สึกว่ามันดีเหมือนกันนะ ถึงจะมี Paperwork มา เราไม่ได้อ่านอยู่ดี หรือถ้าเราอยากอ่านจริง ๆ เราไปเปิดหน้าเว็บก็ได้นะ

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ด้านนึงเป็น USB-C สำหรับเสียบเข้า Card Reader ตัวหัวรู้สึกว่าแน่นหนาดี ตรงที่เราจับ ตอนแรกเราคิดว่าทำจากโลหะ แต่มันทำมาจากพลาสติก มีการพ่นลายมาให้เหมือนกับโลหะมาก ๆ ดูดีใช้ได้เลยละ

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

สำหรับฝั่งที่เสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เขาคิดมาให้เราแล้วว่า บางเครื่องอาจจะไม่มี USB-C ให้เสียบ เขาเลยมีหัวแปลงมาให้ เราสามารถถอดหัว USB-A ออกมา เพื่อใช้ USB-C ก็ได้ แต่อย่าลืมว่า ถ้าเราเสียบเป็น USB-A เราจะไม่ได้ความเร็วสูงสุด น่าจะได้แค่ ครึ่งนึง หรือ 5 Gbps ยังไม่ถึงความเร็วสูงสุดของ CFexpress Type A เลย ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้เสียบผ่าน USB-C จะได้ความเร็วสูงกว่ามาก ๆ และหัวเสียบด้านนี้ ไหงทำเป็นโลหะละ กับมีการพิมพ์ Logo ของ Lexar ไว้ด้วย มั่นใจว่า ใช้ไปนาน ๆ ลอกแน่นอน เรื่องนั้นช่างเถอะ ไม่ได้ส่งผลกระทบกับการใช้งานหรอก

Lexar Professional CFexpress Type A/ SD USB 3.2 Gen 2 Reader

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ตัว Reader ถูกห่อมาในถุงอย่างดี ข้อสังเกตคือ มันเป็นถุงที่เราไม่สามารถลอกเพื่อเปิดแล้วปิดกลับไม่ได้เหมือนเดิม ลอกปุ๊บเท่ากับขาดเลย เราคิดว่ากันพวกใช้เสร็จแล้วไปขายต่อหลอกว่าเป็นมือหนึ่งแหละ

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

เรามาดูกันที่ตัวมันกัน ตัว Body ทั้งหมดจะทำจากพลาสติก จับแล้วรู้สึกได้ว่าแน่นหนาใช้ได้ ไม่ใช่พลาสติกก๊องแก๊งแน่นอน กด ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของตัวเครื่องไม่มีเสียบเอี๊ยดอ๊าดใด ๆ ทั้งสิ้น ถือว่างานประกอบดีมาก ๆ ด้านบนที่มี Logo Lexar อยู่ทำจากโลหะ เดาว่าน่าจะช่วยในการระบายความร้อน ส่วนรอบ ๆ สีดำทำจากพลาสติกมีการกดเป็นรูตื้น ๆ เล็ก ๆ เต็มไปหมด เราว่า ถ้าเอาไปใช้ในงานนาน ๆ ที่เราต้องออกกอง แล้วมีเหงื่อจับไปบ่อย ๆ เป็นคราบเหงื่อดูสกปรกสุด ๆ แต่ถ้าทำงานในที่เย็น ๆ ไม่มีเหงื่อ มันน่าจะไม่มีปัญหา

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

และด้านล่างสุดตรงกลางเป็นไฟแสดงสถานะการทำงาน

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ใต้เครื่อง เขาจะมียางกันลื่นมาให้ด้วย ทำให้เวลาเราเสียบใช้งานวางอยู่บนโต๊ะ มันจะไม่เลื่อนไปมาตอนที่เรากำลังทำงานอยู่ แต่ถามว่ามันหนืดขนาดที่ทำให้เมื่อเราเสียบเข้าออกการ์ดมันจะไม่เลื่อนเลยมั้ย คำตอบคือไม่ ยังไงมันก็เลื่อน ตัวมันเล็กขนาดนี้ แต่มันก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

ด้านหลังมีช่องเสียบ USB-C สำหรับเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เรื่องนี้ขอชมเลยว่า เขาทำมาได้แน่นหนาดีมาก ๆ ไม่เหมือนกับผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อที่เราเคยใช้มา ใช้ ๆ งานไปช่องเสียบคือ หลวม ๆ หลุด ๆ ติด ๆ กับสังเกตุดี ๆ ว่า เหมือนมันมีฟิล์มอยู่ เขาติดมาให้ ถ้าเรารำคาญก็ดึงออกไปเลยก็ได้

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

มาที่ด้านหน้า Highlight ของวันนี้กันละคือ ช่องเสียบทั้งหมด 2 ช่องด้วยกัน ด้านซ้ายเป็นช่องสำหรับเสียบ CFexpress Type และด้านขวาเป็นช่องเสียบ SD Card โดยเขาจะเขียนกำกับไว้ด้านล่างแล้วละ อาจจะยังมองเห็นได้ยาก เพราะฟิล์มที่โรงงานติดมามันบังอยู่

สำหรับการ์ดที่รองรับ ฝั่ง CFexpress ย้ำว่าเป็น Type A เท่านั้น โดยจะรองรับความเร็วสูงสุดที่ 900 MB/s เอาจริง ๆ การ์ด Sony Tough ยังไม่เร็วได้ขนาดนั้นเลย แต่มีของ Lexar เองนี่แหละที่เขาเคลมว่าได้ถึง 900 MB/s และอีกช่อง SD Card รองรับไปถึง UHS-II บนความเร็วสูงสุด 312 MB/s เอาว่า มันคือสุด ๆ แล้วจริง ๆ ของ UHS-II นอกจากนั้น ทั้งสองช่องนี้ยังสามารถใช้งานพร้อมกันได้ แต่เราไม่ได้ทดสอบนะว่า ถ้าเรามีการโอนถ่ายข้อมูลพร้อม ๆ กันมันจะได้ความเร็วสูงสุดของแต่ละช่องพร้อมกันหรือไม่ ถ้าใครได้ลองแล้วทักมาบอกหน่อย

การใช้งาน

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

การใช้งาน ไม่ยาก เพียงเราเสียบ USB-C เข้ากับตัวเครื่อง และ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แนะนำอีกครั้งว่า หากเรามีช่องเสียบ USB-C ให้เสียบผ่าน USB-C จะทำให้เราได้ความเร็วสูงสุด

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

เมื่อเราเสียบเข้าไปแล้ว ไฟแสดงสถานะจะเปลี่ยนเป็นสีขาว เพื่อบอกว่า ตอนนี้ตัวเครื่องได้รับไฟเรียบร้อย เท่านี้ เราก็พร้อมสำหรับการเอาการ์ดเสียบแล้ว

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

การ์ดที่เราจะเอามาลองเป็นตัวอย่างวันนี้คือ Sony Tough 80GB โดยเขา Rate ความเร็วในการอ่าน และเขียนอยู่ที่ 800 MB/s และ 700 MB/s ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในจุดที่น้อยกว่าสเปก 900 MB/s ดังนั้น เราอาจจะเห็นความเร็วสูงสุดจากการ์ดใบนี้ก็เป็นได้

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

การเสียบช่อง CFexpress Type อันนี้เขาเหมือนมีสปริงมา แค่เราเสียบกด มันจะล๊อค แล้วพอเราใช้งานเสร็จ เรากดที่การ์ดทีนึง การ์ดจะปลดล๊อคออกมาให้เราเอง แต่กลับกันใช่ช่อง SD Card ไม่มีให้ มันเป็นกลไกแค่ว่าเสียบดันแล้วเข้าล๊อคก็จบเลยแค่นั้น แอบเสียดายไม่ใส่มาให้ทั้งสองช่อง

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

เมื่อเราเสียบเข้าไป เครื่องจะสามารถอ่านเจอ Removable Media ได้เลยทันที โดยไม่ต้องลง Driver อะไรทั้งนั้น ถือว่าเป็นเรื่องงานในการทำงานมาก ๆ

รีวิว Lexar Professional CFexpress Type A Reader

หากเราสังเกตดี ๆ ดีมาก ๆ ไฟมันจะเหมือนมี 2 ดวงซ้ายขวา พอเราเสียบ CFexpress เข้าไปไฟที่ด้านซ้ายมันจะเหมือนเข้มขึ้น มีกระพริบนิด ๆ ด้วย ไม่แน่ใจว่า มันคือ Indication Light เหรอหรือยังไงนะ ไม่แน่ใจ

จากการทดลองดึง Footage รวมกันขนาดประมาณ 51.3 GB ออกมาเก็บลงไปใน SSD บน Macbook Pro เราใช้เวลาประมาณนาทีนิด ๆ เองจากเดิมที่เราใช้ SD Card อันนั้นเรียกว่า ไปทำอย่างอื่นรอได้เลยนานกว่านี้มาก ๆ ถือว่าทำงานได้เต็มความเร็วของตัวการ์ดได้เลยละ และหลังจากเสร็จ ตัว Card Reader ไม่ได้ร้อนอะไรขนาดนั้น แค่อุ่น ๆ นิดหน่อยเท่านั้น คิดว่า ถ้าเราเอาไปใช้ในที่แจ้ง เช่น อาจจะออกกองแล้วต้องดูดไฟล์สด ๆ หน้างานคิดว่าไม่น่าร้อนจนน่ากลัว ใช้ได้เลย นึกว่าเร็วขนาดนี้น่าจะร้อนกว่านี้ซะอีก

สรุป

Lexar Professional CFexpress Type A/ SD USB 3.2 Gen 2 Reader เป็นตัวเลือกที่ดีมาก ๆ สำหรับ CFexpress Type A Reader ด้วยคุณความ ความเร็วการเชื่อมต่อ และ ความเร็วในการอ่านที่ทำได้เต็มประสิทธิภาพของการ์ดแน่นอน น้ำหนักเบา งานประกอบที่ดีมาก ๆ ในราคาน่าคบหา 1,990 บาท ยิ่งถ้ากดโค้ดลดราคาจะถูกกว่านี้ไปอีก เทียบกับของ Sony ราคาคือห่างไปไกลมาก ๆ เราจะอยากได้อะไรไปมากกว่านี้จาก Card Reader สักตัวจริง ๆ เหรอ

Read Next...

Microinverter ต่างจาก String Inverter อย่างไร เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

Microinverter ต่างจาก String Inverter อย่างไร เลือกแบบไหนดีกว่ากัน

หลังจากเราเขียนเรื่อง Solar Cell ไปมีคนถามเข้ามาอยู่ว่า ถ้าจะเลือกติดตั้ง Solar ระหว่างการใช้ระบบ String Inverter กับ Microinverter เราจะเลือกตัวไหนดี วันนี้เราจะมาเล่าเปรียบเทียบให้อ่านกันว่าแบบไหน น่าจะเหมาะกับใคร...

ทำไมภาษา Programming สมัยใหม่ ถึงไม่มี Pointer Concept

ทำไมภาษา Programming สมัยใหม่ ถึงไม่มี Pointer Concept

ทำไมภาษาบางตัวอย่างภาษา C มี Pointer ในขณะที่ภาษาใหม่ ๆ หลายตัว ไม่มี ทำไมการ Implement Concept หรือเครื่องมือเหล่านี้ถึงไม่ได้รับความนิยม วันนี้เราจะมาเล่าข้อดีข้อเสียของ Feature นี้ในภาษา Programming กัน...

ยืดเวลาการใช้งานแบต Macbook ด้วย 3 ทริกง่าย ๆ

ยืดเวลาการใช้งานแบต Macbook ด้วย 3 ทริกง่าย ๆ

เวลาเราเอา Macbook ออกไปใช้งานนอกบ้าน บางครั้ง เราสามารถเสียบปลั๊กไฟได้ แต่งานก็ต้องทำ ก็คือทำงานแข่งกับเวลาเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาบอกทริกการยืดเวลาการใช้งานบน Battery กันจาก 3 ทริกง่าย ๆ กัน...

Bittorrent คืออะไร ทำงานอย่างไร?

Bittorrent คืออะไร ทำงานอย่างไร?

การดาวน์โหลดไฟล์ผ่าน Internet เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปสำหรับการใช้งานในปัจจุบันกันแล้ว ตั้งแต่การโหลดไฟล์เอกสารต่าง ๆ จนไปถึงการ Stream เพลง และหนังต่าง ๆ แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับโลกอีกใบ อีกวิธีการของการแชร์ไฟล์บนโลก Internet กันนั่นคือ Bittorrent...