Review

รีวิว Redmi AirDots หูฟัง True Wireless ราคาย่อมเยาว์

By Arnon Puitrakul - 02 ตุลาคม 2019

รีวิว Redmi AirDots หูฟัง True Wireless ราคาย่อมเยาว์

ของชิ้นนึงที่เราซื้อมานาน และยังไม่ได้มีโอกาสรีวิวซักที แต่วันนี้ เราก็มาแล้วววว (เว็บอื่นคือ รีวิว อะไรกันไปหมดแล้ว) กับเจ้า Redmi Airdots หูฟัง True Wireless ราคาย่อมเยาว์จากฝั่งเมืองจีน

แกะกล่อง Redmi AirDots

Redmi AirDots

ก่อนเราจะมารีวิว เรามาแกะกล่องกันก่อนดีกว่า ตัวนี้เราสั่งมาจาก Shopee มันก็จะมาในกล่องพัสดุแบบนี้แหละฮ่า ๆ

Redmi AirDots

ตัวกล่องมาด้วยวัสดุที่เป็นกระดาษทั่ว ๆ ไป ด้านบนก็จะมี Logo ของ Xiaomi แล้วก็มีรูปตัวหูฟังให้เรา และสุดท้าย ก็จะเป็นชื่อรุ่น AirDots กับด้านล่างอะไรเป็นภาษาจีนอะไรไม่รู้ อ่านไม่ออก เห็น 5.0 อะไร เราเดาว่าน่าจะเป็น Bluetooth 5.0 ละมั่งนะ

Redmi AirDots

ด้านข้าง ก็น่าจะเป็นการอวดสรรพคุณอะไรก็ว่ากันไป ซึ่งแน่นอนเราก็อ่านจีนไม่ออกเหมือนกัน แต่เราเดาว่า น่าจะเป็น Case ชาร์จไฟ, รองรับ Bluetooth 5.0 และ Truely Wireless ละมั่งนะ ฮ่า ๆ (ถ้าใครที่อ่านภาษาจีนรู้เรื่องก็ Comment มาบอกหน่อย)

Redmi AirDots

เอาให้พีคเข้าไปอีก สำหรับด้านหลังที่มีแต่ภาษาจีน 😭 อ่านไม่ออกอีกตามเคย แต่ดูจากสัญลักษณ์ต่าง ๆ เดาว่าน่าจะเป็นพวก Specification ละมั่งนะ

Redmi AirDots

มาแกะกล่องกันเลยดีกว่า เวลาเราแกะ ด้านบนมันจะมีเหมือนกับเทปกาวติดอยู่ ก็ลอกออกมาได้เลย

Redmi AirDots

เมื่อเราลอกเทปกาว และ ดึงถาดของออกมาแล้ว เราจะพบกับตัวกล่องหูฟังอยู่ในซองพลาสติก

Redmi AirDots

ซึ่งในกล่องก็จะมีตัวหูฟัง คู่มือ และ จุกยาง สำหรับเปลี่ยนแค่นั้นเลย หมดกล่องแล้ว

การใช้งานระยะยาว เราแนะนำให้ไปหาพวกเคสมาปิดกันด้วย เพราะมันเป็นพลาสติก เป็นรอยได้ง่ายมาก ๆ หรือ อย่างเราเอง ก็ไม่ได้ใช้เหมือนกันฮ่า ๆ นอกจากนั้น ตัวกล่องเอง เราว่าเพราะมันด้านด้วย พอเราเอามือมาดึงหูฟัง แล้วจะเอาไปใส่กล่องหน้าเรามัน ไปโดนกล่องตอนเปิด สุดท้ายกล่องเราก็แอบเงาเลย

Redmi AirDots

Redmi AirDots

ถ้าเราแกะกล่องใหม่ ตัวกล่องหูฟัง มันจะมีพลาสติกครอบไว้ด้วยนะ ถ้าใครที่ซื้อมาแล้วไม่มีก็... เหอะ ๆ ที่ด้านหน้า เราเดาว่ามันน่าจะบอกวิธีใช้ละมั่งนะ

Redmi AirDots

และด้านหลังก็ไม่มีอะไร นอกจากพวก Specification ต่าง ๆ แน่นอนว่าเป็นภาษาจีน เราก็อ่านไม่ออกอีกตามเคย

Redmi AirDots

เมื่อแกะพลาสติกที่ครอบออก เราก็จะได้พบกับโฉมหน้าที่แท้จริงของเจ้าหูฟังนี่กันแล้ว ตัวมันดูจากในรูป เราว่ามันดูหรูมากเลยนะ แต่จริง ๆ แล้วมันทำมาจากพลาสติกขัดด้านนี่แหละ จับแล้วมันรู้เลยว่า ราคาเท่าไหร่

Redmi AirDots

สำหรับด้านหลัง มันจะเป็นช่อง Micro-USB สำหรับเสียบชาร์จ

Redmi AirDots

เปิดฝาออกมา เราจะพบกับหูฟังวางอย่างสวยงาม ที่จะมีพลาสติกติดอยู่ที่ตัวหูฟังเพื่อป้องกันรอยจากการขนส่งมั่งนะ จะใช้ก็อย่าลืมแกะออกก็ดี

Redmi AirDots

ที่หูฟัง ถ้าเราแกะกล่องใหม่ ให้เราหมุนไปที่ด้านหลังของหูฟังแต่ละข้าง เราจะเห็นพลาสติกอะไรติดอยู่ อันนี้ให้เราเอาออกด้วย มันเป็นพลาสติกไว้ป้องกันขั้วชาร์จของหูฟังแต่ละข้าง ถ้าไม่เอาออกมันจะชาร์จไม่ได้นะ

Redmi AirDots

ที่กล่องหูฟัง เมื่อเราเอาหูฟังออกมา เราจะเห็นเลยว่า มันจะมีแง่งสำหรับวางชาร์จอยู่ ซึ่งมันจะเข้าตำแหน่งกับแง่งตรงที่เราพึ่งเอาพลาสติกออกไปนั่นเอง

Redmi AirDots

ส่วนตัวหูฟัง ก็จะทำจากพลาสติกสีดำ อันเล็ก ๆ ด้านบนเป็นสีดำด้าน ๆ และเป็นปุ่มสำหรับการทำงานอย่าง ถ้าเรากด 1 ที มันก็จะเป็นการเล่น หรือ หยุดเพลง หรือรับสายตัดสาย กับถ้ากดค้าง ก็จะเป็นการเรียก Voice Assistant ของ OS นั้น ๆ ออกมา อย่างถ้าเป็น Android มันก็จะเรียก Google Assistant ออกมาได้เลย และ ถ้าเรากด 2 ครั้ง มันก็จะเป็นการเล่นเพลงต่อไปทันที จากที่เราใช้มา Function นี้และ ใช้ยากสุด เพราะเวลาเรากด 2 คร้ังเร็ว ๆ มันคิดว่าเป็นการ Play แล้วก็ Pause เพลงที่กำลังเล่นอยู่ แม่มเอ้ย

แต่เอาจริง ๆ คือ เราว่าพวก Voice Assistant เราก็ไม่น่าจะใช้นอกบ้านแน่นอน เราว่ามันแปลก ๆ มาก ลองนึกภาพดูดิ ถ้ามีคนทำ เราก็คง งง ว่า เออ เขาทำอะไรฟร๊ะ อะไรแบบนั้นเลย สุดท้ายเวลาเราเดินทาง หรืออยู่ข้างนอกเราก็ยังเลือกที่จะใช้โทรศัพท์ในการควบคุมอยู่

การเชื่อมต่อ และการใช้งาน

Redmi AirDots

การเชื่อมต่อ ถือว่าทำได้ง่ายมาก ๆ ถึงจะไม่ได้ง่ายเท่ากับ Airpods อะไรขนาดนั้น แต่มันก็ถือว่า ง่ายอยู่ดี ก็คือ เรากดที่หูฟังข้างขวาค้างไว้ แล้วก็เปิด Bluetooth ที่โทรศัพท์ แล้วก็เชื่อมต่อกับ Bluetooth ของตัวหูฟังได้เลย

ข้อสังเกตนิดนึงคือ ตัวหูฟังมันจะให้เราเชื่อมต่อจากด้านขวาเป็นหลัก ทำให้เวลาเรากดเปลี่ยนเพลง หรือ Interact อะไรกับหูฟังข้างซ้าย มันจะแอบ Delay กว่าการกดจากด้านขวาอย่างเห็นได้ชัดเลย

การใช้งาน เราว่าหลัก ๆ หูฟัง Truly Wireless สมัยนี้ ก็น่าจะคล้าย ๆ กันอยู่ คือ เมื่อเราเปิดฝา และเอาหูฟังออกมา มันก็จะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ล่าสุดของเราเองได้ พอเราใช้เสร็จ เราก็เอาใส่กล่องชาร์จ แล้วมันก็จะปิดเอง

AirDots ตัวนี้ก็เหมือนกันเลย แต่สิ่งที่เราเจอคือ มันทำงานแปลก ๆ ยังไงก็ไม่รู้ คือ เมื่อเราเชื่อมต่อกับ iPadOS ก็ใช้งานได้ปกติ เมื่อเราใช้เสร็จ เราก็เอาไปใส่กล่องปิดฝา แล้วใส่กระเป๋าไป ปรากฏว่าที่ iPad เรามันยังขึ้นว่าเชื่อมต่ออยู่ พอเปิดเพลง มันก็ไปออกหูฟังจริง ๆ อันนี้ งง มาก ๆ วิธีแก้ก็คือ เราก็ไปสั่ง Disconnect เองจาก Settings ใน iPad ได้เลย ก็จะใช้งานได้ปกติ

กลับกัน เมื่อเราเอามาใช้กับ Note 9 เราก็ไม่ได้เจออะไรแปลก ๆ เลยนะ เอาออกจากกล่องมันก็เชื่อมต่อเอง ใช้เสร็จเอาใส่กล่องมันก็ตัดเอง ไม่ได้แปลกอะไรเลย เราคิดว่าปัญหาที่เราเจอน่าจะมาจาก iPadOS มากกว่า

ในเรื่องของการสวมใส่ ตัวสเปกมันไม่ได้กันน้ำ เหงื่อและ ฝุ่น นะ มันไม่ได้ออกแบบมาให้เป็นหูฟัง Sport อะไร ก็ไม่แปลกเท่าไหร่ จากการใช้งานเราลองเอาใส่แล้วขึ้นพี่วินไปมหาลัย เราก็พบว่า มันก็อยู่ที่หูเราแน่นอยู่นะ หรือแม้กระทั่งเราใส่อยู่แล้ววิ่งก็ไม่หลุดเลยนะ แต่มันจะรู้สึกเหมือนจะหลุดอะ อาจจะเพราะเราใส่ไม่แน่นรึเปล่าไม่รู้

คุณภาพสัญญาณ

หลายคนที่ไม่เคยใช้พวกหูฟัง Wireless มาก่อนน่าจะมีความกังวลในเรื่องของ คุณภาพสัญญาณ เอามาก ๆ จากการใช้งานของเรามา ในสภาวะทั่ว ๆ ไป คือ อยู่ตามบ้าน หรือมหาลัยเอง เราก็ไม่ได้เจออาการสะดุด หรืออยู่ ๆ ก็ตัดการเชื่อมต่อแต่อย่างใดเลย แต่มันเริ่มจะสะดุด ตอนที่เราเดินอยู่กลางสยาม หรือห้างใหญ่ ๆ อันนี้แหละ หินจริง มีสะดุดอยู่เรี่ยรายทางบ้างเลย

เรื่องนี้อธิบายได้ด้วยว่า Bluetooth มันส่งข้อมูลกันในย่านความถี่ 2.4 GHz แน่นอนช่องนี้เป็นเหมือนกับช่องสาธารณะ ใคร ๆ ก็ใช้กัน อย่าง WiFi ที่เราใช้งานกันตามบ้าน หนึ่งในย่านความถี่ที่ใช้ก็คือ 2.4 GHz ดังนั้น จึงไม่แปลกเลย ถ้าหูฟังมันจะมีอาการสะดุดบ้างเมื่อเราเดินอยู่ในห้างใหญ่ ๆ เพราะ WiFi ห้างก็แรงเหลือเกิน อ้าวคนข้าง ๆ แมร่งก็ใช้หูฟัง Wireless ทำให้การใช้หูฟัง Wireless ในที่คนเยอะ ๆ เลยเป็นเรื่องยากที่หูฟัง Wireless จะทำงานแบบ ไม่สะดุดเลยยยยย มันต้องสักกรึบแหละ

ส่วนเรื่องของความหน่วง เราทดลองกับทั้ง Note 9 และ iPad Pro 11-inchs ที่รองรับ Bluetooth 5.0 เหมือนกัน ก็พบว่ามันยังมีความหน่วงให้เห็นอยู่ร่ำไป โอเคแหละ อาจจะน้อยกว่า Bluetooth 4.2 แต่มันก็ยังมีแบบชัดเจนอยู่ เพราะเราก็ชอบเล่นเกมอย่าง Deemo และ Cytus ที่มันต้องกด Key ให้ตรงเพลง ทำให้เราเห็นความหน่วงค่อนข้างเยอะมากจากหูฟังตัวนี้

แต่ถ้าเราเอาไปฟังเพลง ดู Youtube และ Netflix เราว่าไม่มีปัญหาเลยนะ เสียงกับปากก็ Sync กันได้ค่อนข้างโอเคเลย ถ้าใครที่ใช้พวกหูฟัง Wireless เราว่าน่าจะเฉย ๆ แต่ถ้าใช้สายแล้วขยับมา อาจจะมีอาการหงุดหงิดได้นิดหน่อย

Battery

Redmi AirDots

มาที่อีกเรื่องที่หลาย ๆ คนน่าจะเป็นห่วงกันคือ Battery เท่าที่เราทดลองมา เราพบว่ามันใช้ฟังเพลงได้นานมาก ๆ (ไม่ได้ดูเวลาเลย) วันนั้นเราเดินทางทั้งวันเลย เราก็ใช้ Airdots นี่ทั้งวันเลย น่าจะ 5-6 ชั่วโมงได้ ในการฟังเพลงระหว่างทาง แถมระหว่างที่เราไปธุระ เราก็ไม่ได้เอามันใส่กล่อง มันก็อยู่ได้นะ

แต่กลับกัน ถ้าเราเริ่มใช้ไมค์ในตัวของมัน การใช้งาน Battery มันจะสั้นลงไปอีก เพราะมันกินไฟเยอะขึ้นนั่นแหละ แต่เราก็ยังไม่เคยจนโทรศัพท์แบตหมดเลย เลยไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วมันใช้งาน คุยสนทนาได้นานขนาดไหนเหมือนกัน

เวลาเราเอาใส่กล่อง มันก็จะชาร์จ โดยมันจะขึ้นไฟสีแดงขึ้นมาที่ตัวหูฟังแต่ละข้างเลย พอมันเต็ม ไฟมันก็จะดับไปเอง

Microphone

Redmi AirDots

เมื่อกี้พูดถึงเรื่องโทรศัพท์ ก็ต้องใช้ Microphone สินะ ในตัว Airdots ตัวนี้มาพร้อมกับ 2 Microphone ซ้ายและขวา ถ้าเราใช้ข้างขวาเป็นตัวเชื่อมต่อหลัก มันจะใช้ไมค์ของข้างขวาเสมอ หรือกลับกันก็ตามนั้นเลย

คุณภาพเสียงของ Microphone ที่ได้คือ ถือว่าใช้ได้เลยนะ ปลายทางสนทนา สามารถได้ยินเสียงเราได้อย่างชัดเจนเลย ไม่ค่อยเจออาการพูดไปแล้วเสียงมันแปลก ๆ ฟังไม่รู้เรื่อง อันนี้น้อยมาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ตอนที่เราเจอคือมันเกิดขึ้น เมื่อเราไปเดินสยามนี่แหละ สัญญาณรบกวนมันเยอะ ไม่แปลกเท่าไหร่ที่จะมีปัญหาบ้างงงงงงง

คุณภาพเสียง

Redmi AirDots

ตรงส่วนนี้เราไม่ขอพูดมากละกัน เพราะมันจะไม่แฟร์กับหูฟังตัวนี้เท่าไหร่ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า เจ้านี่เป็นหูฟังราคาถูก ถ้าเราจะเอาไปเทียบกับหูฟังแพง ๆ มีมันก็ไม่แฟร์

เราได้ลองไปอยู่เป็นเดือนเลยละ กว่าจะเอามารีวิวให้ทุกคนอ่านในวันนี้ได้ (เอาจริง ๆ แกดองก็พูดมา !!!) เสียงที่ได้ เราว่ามันไม่มีมิติเลย การแยกเครื่องดนตรี ในเพลงที่ไม่ได้ซับซ้อนมาก ก็ยังทำแทบไม่ได้เลย ส่วนเพลงที่มีความซับซ้อนขึ้นมาหน่อย ก็คือ กลายเป็นฟังไม่ได้ความเลย ได้แต่เนื้อร้องไป

ช่วงเสียงต่ำ มันก็ทำออกมาได้ต่ำหายไปเลย ฮ่า ๆ ส่วนเสียงสูงก็พอได้ แต่ถ้าสูงขึ้นไปอีกระดับ ก็คือ ไปไม่ได้แล้ว ช่วงที่มันทำได้แบบ ชัด ๆ เลยคือ ช่วงเสียงกลางที่ลักษณะมันจะแห้ง ๆ สาด ๆ เหมือนข้าวสวยที่ตอนหุงใส่น้ำน้อยไปเยอะเลย รวม ๆ แล้วเราไม่ชอบเลย

การกันเสียงจากภายนอกก็ถือว่า ทำได้แย่มาก ๆ เวลาเราใส่อยู่แล้วเดิน ๆ เราก็ยังได้ยินเสียงคนข้างนอกอยู่นะ ได้ยินเยอะด้วย กลับด้านกัน การเก็บเสียงเองก็ทำได้ไม่ดี เพราะมีวันนึงเรานั่งรถไฟฟ้ากับเพื่อนนี่แหละ เราก็ใส่ฟังเพลงไป เพื่อนเราบอกว่า ได้ยินเสียงเพลงจากหูฟังเราออกมาด้วย ทั้งที่เรายังไม่ได้เปิดสุดเลยนะ ครึ่งเดียวเองมั่ง ข้างนอกก็ได้ยินเสียงแล้ว

แต่ ๆ อย่าพึ่งดราม่ากัน เราเข้าใจว่า ราคาเท่านี้ แล้วจะไปฟัดกับหูฟังดี ๆ ได้ยังไงใช่มั้ยละ ก็ใช่ไง ฮ่า ๆ ดังนั้น Fact นึงที่ต้องคำนึงถึงด้วย นอกจากคุณภาพเสียงคือ ก็ราคามันเท่านี้อะ จะหวังอะไรขนาดนั้น มันก็เป็นไปไม่ได้แน่ ๆ

สรุป Redmi AirDots เป็นหูฟังที่ ถูกมากกกกกกกก

Redmi AirDots

ย้ำอีกครั้งเลยว่า หูฟัง Redmi AirDots เป็นหูฟังราคาถูกมาก ๆ ทำให้เรื่องของคุณภาพเสียง วัสดุ และ Function การทำงานต่าง ๆ มันก็สู้ตัวที่แพงกว่าไม่ได้อยู่แล้วแหละ แต่ถ้าเอาราคามาเป็นตัวตั้ง เราว่า Redmi AirDots จัดเป็นหูฟังที่โคตรคุ้มค่าตัวนึงเลย เราไม่เคยเห็น Truly Wireless ที่ไม่ก๋องแก่ง ใช้งานได้ยาว ๆ ในราคาเท่านี้เลย ปกติจะเจอหลังพันบวก ๆ ทั้งนั้น แต่อันนี้ เราสามารถได้ในช่วงราคา 500 กว่าบาทเท่านั้นเอง หรือถ้าอยากถูกกว่านั้น ลองดูช่วงที่พวก Shopee หรือ Lazada ลดราคา หลัก 3xx บาทมันก็มีมาแล้ว แถมอุปกรณ์เสริมอย่างเคส ก็มีให้เราเลือกเยอะมาก อันนี้เราเดาว่า คนใช้เยอะมั่ง มันเลยมีคนทำพวกเคสใส่ออกมาให้ และถ้าใครมี หูฟัง True Wireless เจ๋งๆ ราคาใกล้เคียงกับ Redmi AirDots ที่ได้สู้กันแบบสมน้ำสมน้ำสมเนื้อ คอมเมนต์บอกกันได้เลย เผื่อเราทำรีวิวหมัดต่อหมัดให้

Read Next...

รีวิว 2 ปีกับ ORA Good Cat และ Software ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

รีวิว 2 ปีกับ ORA Good Cat และ Software ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

ไม่น่าเชื่อว่า เวลาผ่านไปเร็วขนาดนี้ ตอนนี้น้องไฟท์ หรือรถ ORA Good Cat มาอยู่กับเรา 2 ปีแล้ว วันนี้เราจะมารีวิวให้อ่านกันว่า 2 ปีที่ผ่านมา อะไรที่เป็นปัญหา และ ในรอบปีที่ผ่านมา เราเสียค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่กับรถคันนี้ไปบ้าง เผื่อจะเป็นข้อมูลสำหรับหลาย ๆ คน...

รีวิว Sony ECM-M1 โคตร Shotgun Microphone อเนกประสงค์ ได้หมดจบทุกงาน

รีวิว Sony ECM-M1 โคตร Shotgun Microphone อเนกประสงค์ ได้หมดจบทุกงาน

ก่อนหน้านี้ เราใช้ Wireless Microphone ถ่ายในห้องนอนเล็ก ๆ ของเรา ซึ่งต้องทั้งชาร์จแบต และเสียบเปิด เสียเวลา Setup พอสมควร ทำให้มองหาอะไรที่ง่ายกว่านั้น จนมาเจอกับ Sony ECM-M1 Shotgun Microphone ตัวเด็ดจาก Sony จะเป็นยังไงอ่านได้ในรีวิวนี้เลย...

รีวิว MOFT Snap Invisible Phone Tripod ขาตั้งกล้องพับได้แบบล้ำ ๆ

รีวิว MOFT Snap Invisible Phone Tripod ขาตั้งกล้องพับได้แบบล้ำ ๆ

หลังจากที่ Moft ออกของอุปกรณ์ Magsafe และแม่เหล็กมา จนกลายเป็นของยอดนิยมไปแล้ว แต่ตัวเก่า Stand มันตั้งได้แค่ 2 แบบเท่านั้นคือ แนวตั้ง และ แนวนอน มันไม่สะใจสำหรับบางคน ในรอบนี้ Moft มาใหม่แบบสับด้วย โคตร Stand ที่ตั้งได้ 3 โหมด ครอบคลุมการใช้งานหลากหลายมาก ๆ...

รีวิว CTEK MXS5.0 เครื่องชาร์จแบต 12V ครอบจักรวาลสัญชาติสวีเดน

รีวิว CTEK MXS5.0 เครื่องชาร์จแบต 12V ครอบจักรวาลสัญชาติสวีเดน

บางครั้งหากเราทิ้งรถไว้ ไม่ได้สตาร์ทนาน ๆ กลับมาสตาร์ทอีกก็ไม่ติด เพราะแบตหมดแล้ว หรือบางคนวิ่งรถวันนึงน้อยมาก ๆ จนมันชาร์จไม่ทัน วันนี้เรามาแนะนำอุปกรณ์ที่เข้ามาช่วยเหลือเรื่องนี้กันดีกว่ากับ เครื่องชาร์จแบต 12V จากยี่ห้อ CTEK รุ่น MXS5.0 กัน...