My Life

อีก 1 ปีในมหิดลศาลายา จบปี 4 แล้วเฮ้ ! จาก Senior สู่ Freshman อีกครั้ง

By Arnon Puitrakul - 25 กันยายน 2018

อีก 1 ปีในมหิดลศาลายา จบปี 4 แล้วเฮ้ ! จาก Senior สู่ Freshman อีกครั้ง

ยังจำได้อยู่เลยเมื่อ 4 ปีก่อนที่มาเรียนปรับพื้นฐานที่คณะ ICT ครั้งแรก เราเห็นพี่ ๆ ห้อย Strap สีฟ้า (ปี 4) แล้วก็อยากได้บ้าง (เพราะเราชอบสีฟ้า ถถถถ) จนได้มาแล้ว แล้วก็เรียนจบแล้ว ทำให้นึกได้ว่า เออเวลามันผ่านมาเร็วจริง ๆ นะ เร็วจนเราตั้งตัวไม่ทันเลย รู้ตัวอีกทีคือ อ้าวจบแล้วเหรอ วันนี้เลยจะมาเขียนบอกเล่าเรื่องราวช่วงชีวิตปีสุดท้ายของการเรียนปริญญาตรีใน ICT มหิดลกันว่ามันเป็นยังไง

ชีวิตประจำวัน

Lifestyle

ตั้งแต่ผ่านช่วงปี 3 ที่ไปแข่ง ทำโน้นนี่นั่นเต็มไปหมด ชีวิตช่วงปี 4 ก็เข้าสู่ความสงบสุขอีกครั้ง เพราะไม่ได้ไปแข่งอะไร จำไม่ได้แล้วว่าชีวิตเรามันยุ่งชิบหายเหมือนตอนนั้นตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เอาเถอะ ช่วงนั้นก็รู้สึกว่าเป็นอีกช่วงของชีวิตที่เหมือนได้หายใจอย่างทั่วปอดมากขึ้น

ความพยายามในการจัดสรรเวลา และดูแลสุขภาพก็มากขึ้นเช่นกัน เพราะเรามีเวลามากขึ้นแล้วไง ตอนนั้นก็มีความพยายามในการออกไปปั่นจักรยานจริง ๆ จัง ๆ ทุกวันอาทิตย์เย็น ซึ่งก็ทำได้หลายเดือนอยู่ แต่ช่วงเวลาที่ได้หายใจมันก็หมดไปเร็วยังกะโดนผ้าคลุมกาลเวลาครอบ กับเรื่องของการกินที่พยายามมากขึ้นกว่าปีที่แล้วในการเลือกกิน สุดท้ายก็ห้ามปากตัวเองไม่ได้สักที สุดท้ายแก้ปัญหาด้วยการล๊อคห้องหนีไม่ให้ตัวเองออก ถถถถ

อีกสิ่งที่ตอนนั้นเริ่มทำคือ การเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา 💩 เฮ้ยเรื่องจริงนะ เมื่อก่อนไม่ได้คิดถึงอะไรแบบนี้เลย จนได้ลองทำดูแล้วก็มันช่วยได้อยู่นะ ตอนนั้นมีปัญหาว่าไปไหนก็ 💩 บางวันก็เข้า บางวันก็ไม่เข้า มันเป็นอะไรที่รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องดีเลย ก็เลยลองวิธีที่เพื่อนบอกมาคือ ตื่นเช้าในเราดื่มน้ำแล้วเชิญเข้าห้องน้ำเลย เดี๋ยวมันจะมาเอง สำหรับเราคือมันมาจริงหว่ะ !! Shit in the hole!!!

นอกจากนั้น เพื่อการบริหารจัดการเวลาที่ดีขึ้น ก็เอา To-Do List และ Calendar กลับมาใช้ เพื่อติดตามงานที่เราต้องทำในแต่ละวัน ว่าวันนี้เราต้องไปไหนบ้าง เวลาเท่าไหร่ ต้องทำอะไรบ้าง ช่วยได้ดีมากในเรื่องของการ กันลืม เพราะ To-Do List ที่เราทำในแต่ละวันจะบอกเลยว่า เราต้องเอาอะไรไปบ้าง ต้องเอาคอมไปรึเปล่า ต้องหยิบกระเป๋าในไหนไปอะไรทำนองนั้นเลย โดย List นี้จะมาจาก Calendar ที่เก็บไว้ว่าเราต้องไปไหนวันไหน แล้วค่อยเอามาทำ To-Do List ในแต่ละวัน

ซึ่งในทุก ๆ เช้าที่เข้าห้องน้ำไป 💩 ก็จะเอา iPad ไม่ก็ 📄 + ✏️ เข้าไปด้วยเพื่อทบทวนว่า วันนี้เราต้องทำอะไรให้เสร็จบ้าง ไปไหนบ้าง แล้วจะมีเวลาว่างเอา Task โน้นนี่นั่นไปใส่ตรงไหน บางวันเป็นวันกินเยอะก็จะใช้เวลานานหน่อย ก็จะเอา Task บางอย่างอย่างการเขียน Code เข้าไปนั่งคิดด้วยเลยว่า เราจะแก้ปัญหายังไง เพื่อให้เวลาเรามานั่ง Coding เราก็จะใช้เวลาน้อยลงนั่นเอง

จริง ๆ เราว่าสาเหตุที่คน Coding นาน ๆ ไม่น่าจะเป็นเพราะพิมพ์กันเท่าไหร่หรอก (ไม่นับว่าเป็นมือใหม่) น่าจะเป็นตรงที่คิดมากกว่า คิดไม่ออกแล้วก็นั่งอยู่น่าคอมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะคิดออกนี่แหละ ส่วนตัวเราไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะนั่งหน้าคอมนาน ๆ มันจะเมื่อย เสียสุขภาพหมด วิธีที่เราทำง่าย ๆ คือคิดแล้วเขียนใส่ 📄 มาก่อนแล้วค่อยมาเขียนใน 🖥 ก็จะช่วยให้เราสามารถลดเวลาหน้าคอมได้อีกด้วย ซึ่งมันก็นำไปสู่ทักษะที่เรามักจะบอกเด็กรุ่นใหม่ ๆ ว่า การ Coding ในกระดาษเป็นอะไรที่ควรฝึกมาก เพราะมันทำให้เรารู้จักคิดมากขึ้น เหมือนสมัยก่อนที่กล้องถ่ายรูปมันเป็น Film ตอนถ่ายก็ไม่รู้ว่าผลลัพธ์เป็นยังไง จะรู้ก็ตอนที่เอาไปล้างแล้ว พอมาสมัยนี้มีกล้อง Digital ก็ทำให้คน คิดก่อนกดน้อยลง กด ๆ เผื่อไป การเขียนโปรแกรมก็เช่นกัน สมัยนี้เราว่า พวกเราพึ่ง เครื่องกันมากเกินไป ทำให้เราลืมแก่นของการลำดับขั้นตอนและ Logic ต่าง ๆ ไป

Biking

เรื่องหนึ่งที่เรามองว่า มันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ กับเรา และน่าจะกับทุกคนเลยคือ เรื่องของ Work & Life Balance ที่บางครั้งเราอาจจะทำงานหรือเรียนมากไป จนไม่ได้ดูแลตัวเองเลย หรือบางคนก็แม่มไม่ทำงานเลยก็มีเหมือนกัน ถ้าเราสามารถจัดสรรเจ้างานและชีวิตของเรา หลาย ๆ เรื่องมันก็จะดีเอง อย่างที่เราเคยพูดเสมอว่า คนเราอาจจะไม่ได้มีสิ่งที่เท่ากันทุกคน สิ่งนั้นคือต้นทุนชีวิต แต่สิ่งนึงที่เราว่าทุกคนมีเท่ากันแน่ ๆ คือ เวลา ทุกคนมี 24 ชั่วโมงต่อวัน 30 วันต่อเดือน และ 12 เดืิอน ทุกคนไม่ว่าเขาจะรวย จน หรือตลาดล่างอะไรก็ว่าไป เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการเวลานี่แหละ จะเป็นสิ่งที่เราทำให้ชีวิตของเรางอกงามได้มากขึ้น

ถ้าเราบอกว่า ต้นทุนชีวิตคือเงินที่เรามี การใช้ชีวิตคือการใช้เงิน และการจัดสรรเวลาที่ดีคือการลงทุน แน่นอนครับว่าถึงต้นทุนจะไม่เท่ากัน แต่ถ้าเรารู้จักลงทุน และรู้จักใช้เงินไปพร้อม ๆ กัน เงินเข้า > เงินออก เงินเราก็จะไม่มีวันหมดตาม Logic ทั่วไป ชีวิตเราก็ไม่น่าต่างกันเท่าไหร่ มีขึ้นมีลง มีชิบหาย มีบรรลัย เอามาสร้างหนังชีวิตกันไป

เรียนในห้อง

ช่วงปี 4 ที่คณะจัดว่าเป็นช่วงที่เราว่ามันร่มรื่นที่สุดในทุก ๆ ปี เป็นรองแค่ปี 1 เท่านั้น เพราะเวลาเรียนมันก็ไม่ได้เยอะ แบบเรียนทุกวันเหมือนปี 1,2,3 แล้ว เรียนอยู่แค่ 4 ตัวที่เป็น Lecture + 1 Senior Project เท่านั้น ซึ่งแต่ละวิชามันก็จะชิว ๆ หน่อย

Algorithm Homework
เป็นการบ้านที่จนปัญญามาก ไม่รู้จะทำยังไง ตอนนั้นคาราโอเกะชั้นใต้ดินมันกำลังมา รูปนี้จึงเกิดขึ้น

ไม่นับ Algorithm ที่สร้างความชิบหาย และปลดปล่อยสัญชาตญาณการเอาตัวรอดอย่างแท้จริงออกมา เพราะเรียนไม่รู้เรื่องเลย !!! แบบทำการบ้านยังทำไม่ได้เลยเอาจริง ๆ ไม่ต้องพูดถึงสอบนะ เละเป็น 💩 ไปเลย คือมันไม่รู้เรื่องแบบไม่รู้เรื่องจริง ๆ สุดท้ายก็ผ่านไม่ F เฟ้ยยยยยย แต่ได้หมาติดประจุมาแทน มองโลกในแง่ดีกว่า อย่างน้อยตรูก็รอดมาได้ อีกมุมก็ บ้าเอ้ย แย่ชิบ !!

Embedded System Class

อีกวิชาของ Track CS ที่ต้องเรียนคือ Embedded System อันนี้ก็ไม่เป็นมิตรกับเราพอกัน เพราะจับอะไรก็พังไปหมด ยิ่งเป็นพวก Board ที่ประกอบด้วยของชิ้นเล็ก ๆ นี่ยิ่งแล้วใหญ่ พังกันถ้วนหน้า แต่วิชานี้ก็ไม่ได้เรียนแค่ต่ออย่างเดียว เพราะเราต้องเรียนถึง Protocol ในการคุยกันของมัน ว่ามันทำงานยังไง เราจะออกแบบยังไงอะไรแบบนั้น ทำให้ได้ทั้งต่อ เขียนโปรแกรม และเข้าใจวิธีการทำงาน โชคดีตรงที่มันต้องจับคู่กันทำ ซึ่งเราก็อาศัยเพื่อนซะเยอะ ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ตรงการต่อ แต่ตรงทฤษฏีก็พอรอดอยู่ อย่าบอกอาจารย์นะ ชู่วววววส์ ! 🤫

นอกจาก 2 วิชานี้ในเทอมนี้ก็ต้องเรียน Ethics และ Communication Strategy เพิ่มอีกที่เป็นวิชาเรียนรวมกับเพื่อน ๆ ใน Track อื่น ด้วยวิชาเรียนแบบนี้ทำให้เวลาในการเจอเพื่อนเอาจริง ๆ มันก็น้อยลงเยอะมากเลย เพราะต่าง Track ก็จะเรียนกันคนละวันกัน ตารางเรียนมันก็จะว่าง ๆ หน่อยไม่เหมือนปีก่อน ๆ ที่เรียนเช้าบ่ายทุกวัน จ-ศ อันนี้อาจจะมีเรียนแค่ 3-4 วันก็ว่ากันไป (จำ Exactly ไม่ได้เหมือนกันว่าเรียนกี่วัน)

Data Science Class Project Presentation

จุดที่พีคคือ เทอม 2 ของปีนั้นมีการเปิดวิชา Special Topic in Computer Science ขึ้นครั้งแรกในคณะ ซึ่งพูดง่าย ๆ คือวิชา Data Science นั่นแหละ ใน Class มันไม่ได้พีคอะไร จุดที่มันเด็ดคือ Project ก็คือให้เราจับคู่กับเพื่อนอีกคนนึง เราก็เลยไปชวนเพื่อนที่ชื่อเจนมา (เอ่ยชื่อได้ เจ้าตัวบอกว่า โอเคจะรออ่าน) อะอันนี้ก็ไม่มีอะไร เพราะก็รู้จักกันมาตั้งแต่ปี 1 เลยมั่ง แต่พอหัวข้อมันออกเท่านั้นแหละว่า เราต้องทำอะไรนี่หน้าสั่นไปเลย หัวข้อที่ได้มันเกี่ยวกับเรื่องการแพทย์นี่แหละ แล้วเราก็ต้องเข้าไปคุยกับอาจารย์หมอ วันแรกที่นัดคุยกับอาจารย์หมอคือ ตอนนั้นติดงานด่วนอะไรสักอย่างนี่แหละ เลยไปไม่ได้ ต้องปล่อยให้เจนไปเอง (เราขอโทษษษ 😱) ครั้งนั้นก็ไม่มีอะไร เจนก็เอาสิ่งที่คุยกันมาเล่าให้ฟัง เราก็ทำไป จนถึงไปคุยครั้งต่อไปเราก็ไปด้วย (ก็ครั้งที่แล้วแกเทเพื่อนขนาดนี้ !!) ก็ไปเลยแจ้ นั่งรถจากมหิดลศาลายา ไปโผล่โรงพยาบาลจุฬาฯ เดินไปที่ Reception ของชั้นที่คิดว่าอาจารย์อยู่ ปรากฏว่าอาจารย์ไม่อยู่เว้ย !! เอาหว่ะ จนได้พี่ที่ Reception โทรหาอาจารย์ แล้วพีคมากคือ อาจารย์บอกว่า อาจารย์มารอที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เด่ววววววววว (คืองานนี้อะมันเริ่มจาก อาจารย์ที่คณะ ICT ไปรู้จักกับอาจารย์ท่ีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน แล้วก็ต่อไปที่จุฬาอีกที ทำให้มี Stakeholder ทั้งหมดที่เป็นอาจารย์ 3 ท่านด้วยกัน) นี่ก็ต้องแหกตัววิ่งจากโรงพยาบาลจุฬากลับไปคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งมันคือแถวอนุสาวรีย์ชัย ที่เรานั่ง 515 มาจากศาลายาไง !!! โว้ยยยยยยยย

เอาให้สนุกกว่านั้นอีก Data ที่ได้มาจากอาจารย์คือ หม่าย รู้ เหลือง เลย คือมันเป็นค่าที่คุณหมอใช้ประเมินคนไข้ในห้องฉุกเฉินทั้งนั้น ค่าตับ ค่าไต การประเมินความหนักของอาการต่าง ๆ นั่งเงิบกันไป 2 คนสิ ถึงอาจารย์จะพยายามอธิบายแล้วก็ หมุนติ้วกันไป เอาเป็นว่าจนสุดท้าย จนแล้วจนรอด จากที่อาจารย์เล่าไป และจากข้อมูลที่ดู ทำให้เราก็รู้จักกการทำงานของห้องฉุกเฉินไปโดยปริยายกันเลยทีเดียว สุดท้ายของตรงนี้ก็ต้องขอบคุณเจนมากที่ถึงแม้ว่าเราจะไม่ค่อยว่างมานั่งทำเลย แต่เจนก็ไม่ระเบิดลงหัวเรา ถถถถถ

Senior Project

Senior Project

นอกจากวิชาเรียนที่สร้างความหรรษาและความชิบหายไปพราง ๆ แล้ว ก็ยังมีสิ่งที่เรียกว่า Senior Project อีก ถ้าไม่รู้จักกัน เจ้า Project นี้มันเป็นเหมือนใบเบิกทางให้เราจบออกจากวังวนการเรียน ป.ตรี ถถถ ซึ่งในคณะที่เราเรียนเนี่ย การจะทำ Senior Project มันจะต้องมีสมาชิกมาร่วมหัวจมท้ายในงานทั้งหมด 4 คนคือ เราและเพื่อนอีก 2 คน กับอาจารย์ที่ปรึกษา

ตอนแรก ๆ ของการเริ่ม Senior Project คือการจับกลุ่มกัน ตอนนั้นก็คือมีคนนึงอยู่ใน List ละว่าเอามาแจมเพราะทำงานมาด้วยกันตั้งแต่ปี 1 ยันตอนนั้น แต่ขอไม่บอกชื่อละกัน ถถถถ ทำให้เหลือที่ว่างอีกที่ก็ไม่รู้จะเอาใครดี เลยไปปรึกษาอาจารย์ ท่านหนึ่ง คนเดิมเลยฮ่ะ เดากันได้ ก็แนะนำคนนึงมา เพราะว่าน่าจะเป็นคนที่ตามเราทันที่สุดแล้ว สุดท้ายเราก็ไปคุยแล้วก็ได้สมาชิกครบ 3 คน ถัดไป เราต้องหาอาจารย์ที่ปรึกษา งานนี้ควรจะทำด้วยความรวดเร็ว เพราะมันมีกฏอยู่ว่า อาจารย์ 1 ท่านจะรับได้ 3 กลุ่มเท่านั้น เลยทำให้งานนี้จะต้องรีบนิดนึง วิธีการเลือกนี่ก็เรื่องมากอีกไง คือมันไม่เอาใครก็ได้ไม่ได้ เพราะเขาคนนั้นก็จะเป็นคนกำหนดชีวิตเราเลย ตอนนั้นคิดว่า อยากทำงานอย่างมีความสุขก็เลือกให้ถูกซะ สุดท้ายก็ได้มา

YSTP Presentation
บรรยากาศห้อง Present ของทุน YSTP รอบแรกที่บ้านวิทยาศาสตร์ฯ

นอกจากสมาชิกและอาจารย์แล้ว ถ้าไม่มีหัวข้อ แล้วเราจะทำอะไรละเนอะ ! ก็จริง ๆ หัวข้อเราได้มาตั้งแต่ตอนปลาย ๆ ปี 3 แล้วละ ได้มาเป็นงานทางด้าน NLP แล้วทำภาษาไทยอีก ที่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต ภาษาไทยตัวเองก็ไม่แข็งแรง แล้วก็นั่งหา นั่งทำมาเรื่อย ๆ เลย จนช่วงปิดเทอมปี 3 ก็เอางานส่งไปขอทุน Young Scientist and Technologist Programme (YSTP) แล้วก็ได้ซะงั้นเหอะ ๆ เลยทำให้เราได้ที่ปรึกษาพิเศษซึ่งเป็นนักวิจัยที่ NECTEC มาอีกคน ทำให้งานนี้มีผู้มาร่วมหัวจมท้ายกัน 5 คนแล้ว เย้ ~ แล้วการได้ทุนมันก็ต้องมีการไปปฐมนิเทศกัน ก็ทำให้เราได้เพื่อน ๆ พี่ ๆ หลายคน ได้คุยกับคนต่างอายุ ต่างสาขามากขึ้น จนกลายเป็นเพื่อนกันเฉย ๆ ฮ่า ๆ

ทำให้เปิดเทอมขึ้นปี 4 มามันก็จะไม่ได้ต้องพยายามดิ้นรนอะไรเยอะละ เพราะส่วนผสมสำคัญเราได้มาครบละ ตอนนั้นเรื่องของ Senior Project มันก็มีแต่การเอาส่วนผสมมายำรวมกันจนออกมาเป็นชิ้นงานออกมา ถามว่ายากมั้ย มันก็ยากอยู่นะ เพราะตอนนั้นไม่รู้อะไรเลย ก็คุยกับอาจารย์ คุยกับ Member ในกลุ่มแล้วพยายามลองผิด ลองถูกมาเรื่อย ๆ จนมันก็ได้อยู่นะ

ช่วงที่ทำงานตอนนั้นสารภาพบาปเลยว่า ทำงาน Senior Project สัปดาห์ละแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น เวลาที่เหลือเอิ่ม... ก็ เออ เอาไปอ่าน Paper ไงงงงง แต่เป็น 2-3 ชั่วโมงที่ทำงานจริง ๆ ประกอบกับ เป็นคนทำงานเร็วอยู่แล้ว เลยไม่ได้มีปัญหาอะไร กับตอนนั้น Lead งานไปด้วย ทำเองด้วยแหละ เลยจะยุ่งหน่อย ๆ แต่ก็พอจะทำให้มันอยู่ใน 2-3 ชั่วโมงได้อยู่ มีคนเคยถามว่า ถ้าเราทำเองคนเดียวมันไม่เสร็จเร็วกว่าเหรอ

ไม่รู้สิ ก็คงเร็วกว่าหรือช้ากว่า แต่เรามองว่า การทำงานเป็นทีม คือการที่เราโตไปด้วยกัน กล่าวคือ ถ้าเราทำงานคนเดียว โอเค มันก็น่าจะเสร็จแหละถ้าฝีมือเราถึงพอที่จะแทนคนที่เหลือได้ทั้งหมด แต่ถ้าเราทำแบบนั้นมันคือการฆ่าเพื่อนเราทางอ้อมเลยนะ วันนึงเพื่อนเราจบออกไปทำงาน แล้วโดนถามนี่คือจะยังไง หรือถ้าคิดกลับหาตัวเองหน่อยมันคือเราจะแย่มากเลยนะ เพราะอะไร เพราะว่ามันจะทำให้เห็นเลยนะว่า เราสามารถทำงานเป็นทีมได้ โดยเฉพาะการทำงานจริง ๆ ที่ไม่ได้ทำงานคนเดียว ต้องทำงานกับหลาย ๆ คนทั้ง Programmer ด้วยกัน หรือแม้กระทั่ง AE ด้วยซำ้

เคยคุยกับน้อง ๆ หลายคนที่พึ่งเข้ามาเรียนใหม่ ๆ แต่ละคน เคยถามเราว่า ทำคนเดียวก็ได้นิพี่ จะทำกับคนอื่นทำไม ? ตอนนั้นคือ เอิ่ม... ตรูควรจะตอบว่าอะไร ???? เรามองว่าการทำงานกับคนอื่น มันทำให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ มากกว่าการที่เราทำงานคนเดียวเยอะ เช่น ง่าย ๆ เลยเวลาเราเขียน Code สัก Function ออกมา เราอาจจะคิดว่า เออ เราดัก Case ไว้หมดแล้ว รอดแน่นอน แต่พอเพื่อนเรามาช่วย Review เพื่อนที่มีประสบการณ์และมุมมองต่างจากเราอาจจะเห็น Case ที่หลุดรอดก็ได้ ใครจะรู้ ซึ่งจากการทำงานในงานนนี้ก็ทำให้รู้ว่า เออแมร่งใช่ 555 หลาย ๆ คนอาจจะมองว่า เราเป็นคนที่เขียนโปรแกรมมาเยอะ น่าจะไม่พลาดแล้วสิ ความจริงนั้นคือ แมร่งไม่ใช่เฟ้ยยย เราเนี่ยไม่ได้เขียนโปรแกรมเป็นเลย ความผิดพลาดนี่คือจัดเวลาเยอะเลยละ ดีที่เพื่อนในกลุ่มเข้ามาช่วยดู แล้วก็ช่วยกันแก้จนได้ออกมา มันก็เป็นความสนุกในการทำงานอย่างนึงเลยละ

เวลาทำก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า Weekly Meeting กับอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ ? 555 อันนี้ก็แล้วแต่กลุ่มเนอะว่าจะจัดการกันยังไง ส่วนกลุ่มเรา เราก็ได้ประสบการณ์การทำงานจากหลาย ๆ งานอย่าง Open House มาแล้ว เลยทำให้เรารู้ว่า เราจะต้องเตรียมการประชุมยังไงให้คุยแล้วลื่นและเร็ว เพราะคนที่เสียเวลาไม่ได้มีแค่เรา แต่ยังมีคนในกลุ่มและอาจารย์อีก เพราะฉะนั้นการประชุมควรทำใช้เวลาที่สั้นและได้ใจความครบที่ต้องการ

เวลาเตรียมการประชุม เราและเพื่อน ๆ จะช่วยกันเขียนหัวข้อการประชุมลง Google Docs ก่อน เพื่อมาดูว่า เราต้องคุยอะไรบ้าง แล้วพวกเรากันเองมีอะไรที่ต้องรู้กันเองก่อน แล้วพอไปคุยกับอาจารย์ก็กาง หัวข้อนั่นแหละ แล้วคุยไล่ไปเรื่อย ๆ เลย ระหว่างที่คุย เราก็เขียนสรุปมันลงไป ทั้งหมดนี่ก็จะทำให้ การประชุมมันราบลื่นและใช้เวลาน้อยลงมาก ๆ คุยกันกับอาจารย์เฉลี่ยอาทิตย์ละ 1 - 1.30 ชั่วโมงเท่านั้นเอง มีนานกว่านั้นหน่อย ถ้าคุยเรื่องที่ยาวจริง ๆ

แต่ชีวิตช่วงที่ทำ Senior Project มันจะขาดไม่ได้เลยคือการสอบ Proposal และ Defence สุดหรรษา โดยส่วนผสมของความหรรษานี้จะประกอบไปด้วย แก๊งค์ Senior Project ทั้ง 4 และกรรมการหรือ Commitee อีก 2 คน ในการที่จะได้มาซึ่ง Commitee ก็คือ เราจะส่ง Abstract ของเราไปช่วงก่อนสอบ Proposal แล้วอาจารย์ที่ไม่ใช่ที่ปรึกษาเราจะมาจิ้มเลือกงานที่ตัวเองสนใจหรือถนัด แล้วมาเป็นคนสอบเรา

แจ๊คพอตหรืออะไร Commitee คือน่ากลัวมาก ฮื่อ ๆๆๆๆ ประกอบกับยิ่งทำงานมาด้วยกันนานแล้วด้วย จุดอ่อนของเราไม่ต้องพูดถึง รู้หมดเปลือก !!! เชี้ยยยยยย !!!! คือปกติที่คนเห็นว่าเราเก่งอย่างนู้นอย่างนี้ เพราะว่า เราเอาจุดแข็งมาปิดจุดอ่อนไง ถ้าไม่รู้มาก่อนก็จี้ไม่ถูกหรอก แต่อันนี้คือ มาเจอกับคนที่รู้จุดอ่อนไง เพราะฉะนั้นตอนนั้นวิธีแก้ปัญหาทางเดียวคือ ทำยังไงก็ได้ให้จุดอ่อนนั้นมันจางลง บ้าเอ้ยยย ถ้ามันทำได้ง่ายใคร ๆ ก็ทำกันไปแล้ว มันเหมือนกับเราจะปีนเขาเลย การที่เราก้าวผ่านจุดนึงของชีวิต มันก็เหมือนกับที่เราปีนเขาลูกนึงได้แล้ว เราก็จะไปเจอภูเขาลูกใหม่ที่สูงขึ้น และบรรลัยขึ้นเรื่อย ๆ

ตอนนั้นก็คิดนะว่า ตัวเราเองก็ผ่านอะไรมาเยอะ ทั้งแข่งโน้นนี่นั่น ได้รางวัลมาหลายอัน มันก็เหมือนภูเขาที่เราก้าวข้ามมาได้ ก็คิดแหละ ถ้าเราปีนมาได้ไกลขนาดนี้ ทำไมเราจะปีนต่อไม่ได้ ก็เลยพยายามต่อไปจนได้แหละ ตอนสอบคือ มือเย็น ตัวสั่น เหงื่อแตก ไปหมด ประกอบกับว่าเป็นมนุษย์ที่เป็นที่รู้จักของน้องเยอะมาก ๆ ทำให้ตอนสอบ Proposal ที่ให้ใคร ๆ ก็เข้าได้เลยเป็นห้อง Present ที่น้อง ๆ เต็มห้องไปหมด เต็มจนเห็นว่ามีคนไปยกเก้าอี้จากอีกห้องมา ชิบหายยยย ยิ่งกดดันเข้าไปใหญ่ สุดท้ายการ Present Proposal ก็ผ่านมาได้ด้วย รอยโดนยิงเป็นพันรู พร้อมกับคำถามอีกหลายข้อที่ตอบไม่ได้ ไม่ตายก็ต้องสู้ต่อไปทาเคชิ

หลังจาก Proposal ก็ทำไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะเป็นการ Present Poster ก็คือจะเป็น Poster เป็นบูท ๆ แล้วก็จะมี Commitee มาให้เรา Present แล้วก็ถามตอบกันไป อันนี้ก็ไม่มีอะไรสนุก ๆ ก็มีน้อง ๆ มาถามบ้าง มาคุยบ้างก็ว่ากันไป

จุดพีคสุดท้ายคือการ Defence เข้ !! เป็นอะไรที่ตื่นเต้นมาก เพราะ Commitee ที่เราได้ตอนนั้นคือ ไม่เคยมีใครผ่านในการ Defence รอบเดียวเลยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เชี้ยยยยยยยยยย แล้วกรูจะทำยังไงงงงง จะรอดมั้ยยยย ประกอบกับเพื่อนที่เจอ Commitee คนเดียวกันสอบไปก่อนกลุ่มเราแล้วก็ไม่ผ่านต้องมาสอบใหม่ เลยเกิดแรงฮึด ใช้ความสามารถที่มีในการเตี๊ยมและเตรียมออกมาให้แจ่ม จนสุดท้าย Present เสร็จ เดินออกมาจากห้อง Present แล้วปล่อยให้อาจารย์คุยกัน นี่ก็นั่งรอผลด้วยความเสียววาบ ๆ ว่าจะผ่านมั้ย ผ่านไปสักพัก Commitee เดินออกไปจากห้อง แล้ว Advisor เราก็เรียกพวกเราเข้าไปคุย ปรากฏผ่านโว้ยยยยยยย เชี้ยยยย มันเป็นไปได้ยังไง !!! สรุปคือ น่าจะเป็นกลุ่มเดียวที่ผ่านในครั้งเดียว ในรอบ 2 ปีเลย มันเป็นไปได้ยังไง !!!

Senior Document

รู้สึกโล่งไปเลยเมื่อ Defence ผ่าน แต่ความสนุกก็ยังไม่หมด เพราะหลังจากนั้นเราก็ต้องเขียนเล่ม ซึ่งก่อนหน้านั้นเราก็แบ่งหน้าที่กันไปแล้วละ โดยเรารับหน้าที่ส่วนใหญ่ในการเขียน Code ทำให้เล่มเราก็ไม่ได้เขียนเยอะเท่าไหร่ และสุดท้ายมันก็เสร็จออกมาเป็นเล่มเย้ ~

อีกสิ่งที่เหมือนกับเอ๊ะขึ้นมาคือ วันแรกเราไม่รู้อะไรเลย เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราจะจัดการกับข้อมูลพวกนั้นยังไง แต่พอเวลาผ่านมา ทำไมเรารู้เยอะขึ้นมาก น่าจะพูดได้อย่างเต็มปากเลยว่า นี่แหละงานของพวกเรา ! ต่างจากวันแรกลิบลับ ที่ไม่กล้าพูดเลยว่า พวกเราเป็นคนทำ

หาที่เรียนต่อ

ยังจำได้ว่า เมื่อ 4 ปีก่อนเราก็ดิ้นรนหาที่เรียนต่อจนได้ มาจนตอนนี้แล้วเราก็อยู่ในจุดที่ต้องหาที่เรียนต่ออีกครั้ง เอาจริง ๆ ความคิดแรกที่ฝุดขึ้นมาต่อเรื่องของการเรียนต่อคือ เราจะไปเรียนอะไรที่เป็น Medicine หรือไม่ก็ Biology ใช่ครับ อย่างที่เคยบอกไปเมื่อ Blog ก่อนว่า จริง ๆ เราไม่ได้ชอบเขียนโปรแกรมอะไรขนาดนั้น เราว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ดีในการใช้แก้ปัญหาที่เราเจอในชีวิตประจำวันได้ เลยหัดเขียนจนมาถึงทุกวันนี้ แต่ถามว่า Life Goal ของเราคือการอยู่กับคอมพิวเตอร์มั้ย ตอนนี้ก็คงตอบว่าไม่ เพราะฉะนั้นการเรียนต่อด้าน Computer Science จึงตกไป

จนได้ไปคุยกับอาจารย์หลายท่านก็แนะนำให้ไปเรียนสิ่งที่เรียกว่า Bioinformatics ตอนนั้นก็คือ เฮ้ย มันคืออะไรฟร๊ะ แต่พอไปอ่านดู เชี้ยยย ล้ำสาดดด เพราะส่วนตัวเราชอบเรียนชีวะมากเลยนะ แต่สิ่งที่ถนัดคือคอมพิวเตอร์ สายมันเป็นเหมือนลูกครึ่ง ระหว่างสิ่งที่เราชอบกับถนัดเข้าด้วยกัน เราเคยบอกว่า

ขนาดสิ่งที่เราไม่ได้ชอบ เรายังทำมันได้ขนาดนี้ ถ้าเราไปทำสิ่งที่เราชอบมันจะไปได้ไกลแค่ไหนกัน

กลับมาคุยกับอาจารย์อีกครั้ง อาจารย์ก็แนะนำว่า ไหน ๆ จะเรียนถึง PhD แล้วตอนนี้ก็ลองสมัครไปเลยสิ อะก็ลองดูสมัครไป 3-4 ที่ โดยพบว่า มันเป็นการกรอกเอกสารที่ยาวชิบ ! และต้องใช้ Recommendation ด้วย ยากมาก ถถถถ

ปรากฏว่า ติดมากสุดคือรอบสัมภาษณ์ออนไลน์ ตอนที่ได้อีเมล์ว่าติดรอบต่อไปคือดีใจมาก เพราะที่ก่อน ๆ ที่สมัครมา เราไม่ติดที่ไหนเลย ตอนนั้นก็สัมภาษณ์ไป สุดท้ายก็ลาก่อย เลยกลับไปบอกอาจารย์อีกรอบ

Pencil
นี่คือไส้ดินสอที่เหลืออยู่ อันเดียว จำได้ว่าไส้ดินสออันนี้ซื้อเมื่อตอนปี 1

สุดท้ายอาจารย์ก็แนะนำอาจารย์อีกคนมา ให้ไปสอบที่ของศิริราช จุดที่พีคคือ ทำให้เรารู้ว่า เราไม่ได้ใช้ดินสอ ยางลบมาหลายเดือนมาก ๆ จนมันหายไปหมดแล้ว เหลือ อยู่แค่ดินสอกดกับปากกาน้ำเงิน ตอนสอบเปิดมา Part คอมโอเคง่ายมาก ที่เหลือ บรรลัยแล้วตรู นั่งขำ ไม่ได้ขำเพราะง่ายนะ อ๋อ ทำไม่ได้น่ะ ถถถถ ทำจนเสร็จเงยหน้าขึ้นมาผ่านไปแค่ชั่วโมงครึ่งเองจากเวลาสอบ 3 ชั่วโมง ไม่มีใครลุกเลย ก็นั่งไปเรื่อย ๆ ไม่อยากเปิดไง สุดท้ายทนไม่ไหวแล้วโว้ยยย ลุกแม่มเปิดเลย

SI Admission

แล้วสุดท้ายก็มาลงเอยที่ศิริราชเฉย ถถถ จนตอนนี้เวลาคนอื่นถามว่า ตอนนี้เรียนที่ไหน พอตอบว่า ศิริราช ไป ทุกคนแม่มจะต้องถามว่า เรียนหมอเหรอ ประมาณ 99% ของคนที่ถาม โว้ยยย จบ ICT มาจะเอาวุฒิและปัญญาที่ไหนไปเรียนหมอฟร๊ะ !!!

พอเริ่มหงุดหงิด เวลาคนอื่นถามใหม่ เราจะต้องหาวิธีจัดการให้ได้ โดยเปลี่ยนบทสนทนาดังนี้

คนอื่น : อ้าวแล้วสรุปแล้ว เราไปทำงานหรือเรียนเนี่ย ??
ฉัน : อ๋อ เรียนครับ ไม่อยากทำงาน
คนอื่น : แล้วเรียนที่ไหนละ ?

อ่าา ช๊อตนี้ ถ้าเราตอบว่าศิริราช ต้องโดนแน่ เปลี่ยนคำตอบดีกว่า

ฉัน : มหิดล ที่เดิมครับ

รอบนี้รอดแน่แก ฮึฮึ ๆๆๆๆๆ

คนอื่น : เรียนคณะอะไร ?
ฉัน : แพทยศาสตร์ครับ
คนอื่น : อ้าวเรียนหมอเหรอ ?

บ้าเอ้ยยยยยยย สุดท้ายก็ไม่รอด แม่มเอ้ยยยยย !!! 🤬 คือควรจะต้องตอบว่าอะไร แพศยา? คือก็ไม่ได้ขายตัวไง เลยตอบไม่ได้อีก โว้ยยย

ฉัน : อ่อเปล่าครับ ผมเรียน Bioinformatics
คนอื่น : มันคืออะไรอะ ?

อะเนี่ยสุดท้ายตรูก็ต้องมาอธิบายอีกว่า สิ่งที่ตรูเรียนมันคืออะไร !!!!! ก่อนอื่นเลย ก่อนจะไปว่าสิ่งที่เราเรียนมันคืออะไร บอกก่อนว่าในคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชเนี่ย มันไม่ได้มีแค่สาขาเดียวไงงงง !!! โอเคแพทย์เป็นส่วนหนึ่ง แต่มันก็มีอีกหลายสาขาเช่น Immunology, Pharmacology และอื่น ๆ อีกนอกจากหมออออออ อ่านซะ !! อ่าน ที่ เรา เขียนนะ

ตรู ไม่ ได้ เรียน หมอ !!!

ไหน ๆ ก็บ่นเรื่องนี้ละ ขอต่อซะหน่อย ตอน ป.ตรี เหมือนกันที่ เข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล มันก็จะเป็นดั่งบทสนทนาด้านล่างนี้

คนอื่น : อ้าวสรุปแล้วต่อไหนอะเราเนี่ย ??
ฉัน : มหิดลครับ

อ้าาาาห์ มาเหมือนเมื่อกี้เลย รอดแน่ ๆ

คนอื่น : เรียนหมอเหรอ ?

โอ้ยยยยยย มหิดลไม่ได้มีแค่หมอมั้ยละ !!! ก็จะตอบด้วยน้ำเสียงนิ่ม ๆ และเกี้ยวกราดว่า

ฉัน : เรียน ICT อ่อ คอมพิวเตอร์ครับ

อะ แน่นอนว่า คนทั่ว ๆ ไปไม่น่าจะเข้าใจคำว่า ICT แน่นอน เลยตอบไปว่า คอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการตัดจบบทสนทนา สรุปคือ การโดนถามว่า เรียนหมอเหรอ ?? น่าจะเป็นอะไรที่เราควรจะชินได้แล้ว ดั่งกับที่เรามักจะโดนชาวต่างชาติโลกที่ 1 ถามว่า "ยู ขี่ช้างไปเรียนเหรอ ?" นั่นแหละ

กิจกรรม

ก็อย่างที่เล่าไปว่า ปีนี้เป็นปีที่ค่อนข้างเงียบสงบอีกปีที่ทำให้เรามีเวลาในการดื่มด่ำช่วงชีวิตของการเรียน ป.ตรี แบบเงียบ ๆ ได้ค่อนข้างเต็มที่

ช่วงต้นปีก็ได้มีโอกาสไปรับรางวัลในการ วันนักประดิษฐ์ จากการไปแข่งขันในรายการที่จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คือแบบ เฮ้ย เป็นงานที่เราไม่เคยคิดเลยว่า เราที่เป็นเด็ก ป.ตรี จะเข้าไปได้รางวัลอะไรกับงานใหญ่ ๆ แบบนี้กับเขาด้วย เพราะดูแต่ละงานตอนที่แข่งคือ โหดไปหมด น่ากลัวเวอร์ ไม่น่าจะรอดเลย สุดท้ายคือได้รางวัลเฉย ฮ่า ๆ เข้าในงาน งานที่ได้รับรางวัลคือ เป็นงานที่ทำกันมานานมากหลายปีสุด ๆ ในขณะที่เราก็ไม่ได้นานขนาดนั้น แต่เราก็ได้มา ก็จัดว่าเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์และโอกาสที่ได้รับ ทำให้เราได้มาในจุดนี้ได้ สำหรับงานนี้ก็หวังว่า จะส่ง Thesis ป.เอก (ถ้าได้เรียน และอาจารย์ไม่ไล่ออกก่อน) เข้าประกวด ถ้าตอนนั้นได้ ก็คงจะเป็นเกียรติมากมาย หวังว่านะ ~

MUICT Open House 2017

อีกงานที่เป็นเหมือนสัญญาเลือดที่ต้องทำมาตลอดตั้งแต่ปี 2 คืองาน MUICT Open House ก็ต้องบอกว่า เป็นอีกปีที่ปัญหามันไม่เหมือนปีก่อน ๆ ซะที ทำมา 3 ปี ปัญหามันไม่เคยซำ้กันเลย แต่ถามว่าสนุกมั้ย ก็ตอบเลยนะว่า สนุกมาก และอย่างให้มันสนุกแบบนี้เรื่อยไป เรื่องของงานนี้เราได้เขียนแยกเป็นอีกตอนนึงแล้ว มาอ่านได้ ที่นี่

สรุป

Graduation Grown

และแล้วก็จบปี 4 สักที อ้าวเรียนจบแล้วนี่หว่าาา ซับเลือดกันรัว ๆ แต่มันก็สนุกดีนะ มีคนบอกว่าเหล็กจะแข็งแกร่งก็ต้องเกิดจากไฟที่ร้อน (บางทีมันก็แอบร้อนไปหน่อย จะละลายเอา Burn Baby Burn !! 🤯) ประสบการณ์จะสอนให้เรา เป็นเราในอนาคตที่เก่งขึ้นทุกวัน ปีหน้าก็จะเป็น Freshman (เขาใช้คำนั้นเหรอ ????) แต่ของ ป.โท อะนะ ถถถถ

สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณทุก ๆ คนที่เข้ามาในชีวิตและทำให้ชีวิตเรามีสีสัน มีเรื่อง แก้ปัญหามากมายให้เรา โดยเฉพาะเพื่อนในกลุ่ม Senior Project, Advisors และอาจารย์อีกหลาย ๆ ท่านที่ไม่ได้สอนแค่ความรู้ แต่ยังมอบโอกาส และสอนเราให้เรียนรู้ถึงการส่งต่อโอกาสให้กับคนอื่น ๆ ต่อไปด้วย ขอบคุณครับ

ปล. อ่านรีวิวชีวิตความบรรลัยใน ปี 1, ปี 2 และ ปี 3 ตอนต่อไปน่าจะเป็น รีวิวป.โทแล้วละ เขิลจังเรียนจบแล้ว

Read Next...

Year in Review 2022 สวัสดี 2023

Year in Review 2022 สวัสดี 2023

เวลาผ่านไปไวเหมือนกันนะเนี่ย ยังแอบรู้สึกว่าเหมือนยังไม่ผ่านครึ่งปีไปดีเลย อ่อ สิ้นปีแล้วเฉยเลย มา งั้นเรามาเล่าให้อ่านกันดีกว่าว่า ที่ผ่านมาในปี 2022 มันเกิดอะไรขึ้น และมันสอนอะไรเราบ้าง...

Year in Review 2021 สวัสดี 2022

Year in Review 2021 สวัสดี 2022

ผ่านไปอีกปีแล้วกับปี 2021 ที่น่าจะเป็นเวลาที่ยากลำบากสำหรับใครหลาย ๆ คน เราเองก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ หลาย ๆ อย่างที่ Plan ไว้ก็ต้องเปลี่ยนหมด หน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว ก็หวังว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ดีขึ้นเนอะ ~...

Year in Review 2020 สวัสดี 2021

Year in Review 2020 สวัสดี 2021

และแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องมาเขียน Year in Review อีกครั้ง ประโยคที่ว่า จะหมดปี 2020 แล้วคงไม่มีอะไรแย่ไปกว่านี้ละมั่ง ปีก่อน ๆ อาจจะบอกว่า เออ ใช่แหละ แต่ปีนี้คือเป็นปีที่หนักมากสำหรับหลาย ๆ คนรวมถึงเราด้วย...

Productive Series: To-Do List ทำดี มีเวลาว่างเพิ่มขึ้นเยอะ

Productive Series: To-Do List ทำดี มีเวลาว่างเพิ่มขึ้นเยอะ

หลังจากตอนที่แล้ว เราพูดถึงเรื่องของการจัดการไฟล์ใน Digital ของเราไปแล้ว วันนี้เราลองมาเปลี่ยนไปดูอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน และ ช่วยทำให้ชีวิตเรามีเวลาออกไปหายใจได้มากขึ้น อย่างการทำ To-Do List กันดีกว่า...