Technology

[Life Hack] รู้จักกันสักนิดกับ Bitcoin

By Arnon Puitrakul - 13 พฤศจิกายน 2015

[Life Hack] รู้จักกันสักนิดกับ Bitcoin

ช่วงนี้ก็หายไปนานเลย เพราะว่าติดงานหลาย ๆ อย่างเลย แต่ตอนนี้แอบกลับมาแล้ว เย้ ๆ ขอเกริ่นก่อน เมื่อสัก 2-3 วันก่อนก็ได้ไปอ่านข่าวเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ของเจ้านึง แล้วมีการส่งเงินเป็นหน่วย Bitcoin กัน วันนี้เลยอยากจะมาไขข้อกระจ่างกันว่า BitCoin มันคืออะไร และมันทำงานยังไง

BitCoin คืออะไร ?

BitCoin เป็นสกุลเงินแบบหนึ่ง ที่ทำงานอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตของเรา โดยมันสามารถนำไปจ่ายค่าบริการต่าง ๆ ให้กับผู้ที่รับได้ โดยปกติแล้ว ตามที่เราเรียนเศรษฐศาสตร์ 101 ในโรงเรียนมา ในหนังสือมักจะบอกว่า

"เงินคือสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยมีรัฐบาลเป็นผู้รับรอง"

แต่ BitCoin นี่ทำงานสลับกันเลย การที่ BitCoin มันมีค่าเป็นเพราะว่า ผู้ใช้เป็นคนรับรองมัน แทนที่จะเป็นรัฐบาลของแต่ล่ะประเทศ เลยทำให้ BitCoin เป็นค่าเงินอันนึงที่น่าจะเป็นค่าเงินในฝันของคนทำ E-Commerce เลยทีเดียว และแน่นอนว่า มันไม่จำเป็นต้องผ่านธนาคาร ทำให้เราสามารถลดค่าธุรกรรมได้มากขึ้นกว่าตอนที่เราถือเงินสกุลอื่นไปเยอะมาก ๆ

ต้นกำเนิด BitCoin

เรื่องต้นกำเนิดของมันหลาย ๆ คนก็เหมือนบอกกันว่า มันเกิดมาจากคนนิรนามคนนึงที่ชื่อ Satoshi Nakamoto ที่ต้องการออกแบบระบบเงินที่ไร้ศูนย์กลางแบบสมบูรณ์ (คือไม่ต้องผ่านคนกลางอย่างธนาคารเลย) ซึ่งเขาได้เปิดเผยการออกแบบทั้งหมดมาในปี 2009 ในชื่อ BitCoin ที่เรารู้จักกันนั่นเอง ในตอนแรก ๆ BitCoin 1 หน่วยมีค่าอยู่เพียงแค่ไม่กี่ USD เท่านั้นเอง แต่ในปัจจุบันนั้นมีค่าประมาณ 300 USD กว่า ๆ แล้ว

มันเป็นเรื่องของคนสองคน

อย่างที่บอกไปว่า ตัว BitCoin เองได้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานได้เองอย่างสมบูรณ์แบบ โดยไร้ศูนย์กลาง โดยให้เก็บข้อมูลไว้ในเครื่องของตนเองและรอรับข้อมูลใหม่เข้ามาตลอด แต่ปัญหาคือ เราไม่สามารถไว้ใจใครคนใดคนหนึ่งว่ามีข้อมูลล่าสุดได้ จึงต้องเกิดกระบวนการยืนยันขึ้นมา

ซึ่งผู้ที่ช่วยยืนยันนั้นไม่ใช่ใครเลย แต่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบมีชื่อว่า Block Chain หลักการทำงานของมันคือ มันจะเอา Transection อัดลงไปในฐานข้อมูล ซึ่งเรียกว่า Block และเอาไปประมวลผลต่อ โดยการคำนวณให้มีฟิลด์ที่กำหนดไว้ว่า ต้องมีค่า Block Header มีค่าน้อยกว่าค่าค่าหนึ่ง ซึ่งจะถูกระบุอยู่ในฟิลด์ Difficulty ที่จะคำนวณใหม่ทุก 1000 บล๊อค โดยดูจากการคำนวณ 1000 บล๊อคที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าทุกคนมีฐานข้อมูลเหมือนกัน และใช้สมการเหมือนกัน ก็จะสามารถคำนวณได้ค่าเดียวกัน ซึ่งถ้าใครสร้าง Block ขึ้นมาใหม่โดยไม่ผ่านเงื่อนไขข้างต้น Block นั้นก็จะถือว่า ไม่ยอมรับ

กระบวนการ Hash ที่ใช้คือ กระบวนการ Hash ที่มีความปลอดภัยสูงมากอย่าง SHA-256 ที่โคตรจะเถื่อน เราไม่สามารถสร้างข้อมูลที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับค่าที่เราต้องการได้เลย วิธีเดียวก็คือ การลองปรับข้อมูลไปเรื่อย ๆ แล้วลอง Hash ไปเรื่อย ๆ ในกรณีนี้ก็ต้องลองปรับค่าในบล๊อคไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ค่า Hash ที่กำหนดไว้ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลานานมาก โดยปรกติแล้วถ้ามีการคำนวณต่อไปกันแล้วประมาณ 6 บล๊อคก็จะถือว่าทุกคนที่ใช้ยอมรับตรงกันแล้ว

ถ้ามันยากนักก็หาคนช่วยทำสิ !

แต่อย่างที่บอกว่า การคำนวณค่า Hash ไปเรื่อย ๆ มันใช้เวลานานมาก เพราะฉะนั้นถ้าคนที่โอนเงินออก อยากให้เงินถึงปลายทางไว ๆ ตัว BitCoin จะมีระบบเพื่อให้ผู้โอนเงินสามารถใส่ ค่าทำเนียม ได้ด้วย โดยมันจะรวมเอารายการ ค่าทำเนียมเก็บลงบล๊อคไปพร้อมกันเลย ถ้าใครขุดได้ก็ได้เงินไป

จากกระบวนการนี้เองก็ทำให้มีคนจำนวนหนึ่งต้องการเงินจากส่วนนี้จึงมีการสร้าง Software และ Hardware ต่าง ๆ เพื่อมาคำนวณค่า Hash แบบโคตรจะอลัง โดยกระบวนการนี้เรารู้จักกันในคำว่า "ขุดเหมือง"

แต่มันก็ไม่ทันกินอยู่ดี

เนื่องจาก BitCoin ก็เติบโตขึ้นเรื่อง ๆ Transection ที่วิ่งผ่านก็มากขึ้นทุกวัน Block ที่วิ่งผ่านก็วิ่งผ่านเยอะขึ้นมากเช่นกัน ทำให้เกิดการแย่งเพื่อ Hash Block เยอะมาก เลยมีคนบางกลุ่มอีก จับมือกันช่วยกัน โดยการทำเป็น Cluster เพื่อช่วยกันคำนวณไปเลย ซึ่งทุก ๆ วันนี้การคำนวณ Block ใหม่ ๆ เกินครึ่งมากจากคนพวกนี้แหละ

มองในอีกแง่นึง พวกเขานี่แหละคือคนที่ช่วยขับเคลื่อน BitCoin ให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น

นอกจากเงินจะมาจากการขุดแล้ว ยังมาจากที่อื่นได้อีก

นอกจาก ที่เราจะไปขุดเพื่อให้ได้ BitCoin มาใช้แล้ว เรายังสามารถนำเงิน ที่เป็นค่าเงินปกติของเราไปแลกกับ BitCoin ได้ เช่น BitCoin.co.th หายไปแล้วว เพราะว่าธนาคารแห่งประเทศไทยบอกว่ามันผิดกฏหมาย

ใครจะรับ BitCoin

ตอนนี้ผู้ขายสินค้าออนไลน์หลาย ๆ เจ้าก็หันมารับเงินในสกุล BitCoin อยู่เยอะมากแล้ว นอกจากจะเป็นการให้บริการทางไซเบอร์ (ส่วนมากจะเป็นพวก Web Hosting, VPN อะไรพวกนี้) ที่จะรับแล้ว ยังมีผู้ขายของที่จับต้องได้ เช่นพวกของอะไรพวกนี้ก็รับเงินในสกุล BitCoin กันแล้ว ที่พีคคือ เราสามารถซื้อรถ Spot โดยจ่ายด้วย BitCoin ได้ด้วยล่ะ

ถ้าเอามาใช้ในประเทศไทยล่ะ ?

ณ ตอนนี้การใช้ BitCoin เป็นเรื่องผิดกฏหมายนะครัช โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้แจ้งโดยบอกว่า ประเทศเรายังไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้งาน BitCoin ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุกได้เต็มที่ เลยทำให้ BitCoin ให้ประเทศอันน่ารักของเรานั้นก็หมดสิทธิ์ไป อิอิ แต่ในบางประเทศก็ยอมรับว่า มันคือทรัพย์สินตัวนึงเลย ที่จะต้องแจ้งทุก ๆ ปีด้วยนะ

ใช้ไม่ได้แล้ว จะเอามาเขียนทำไม !!!!

ก็ที่เอามาเล่า เพราะว่า มันเป็นระบบตัวนึงที่ค่อนข้างน่าสนใจมาก และอย่างที่บอกไป เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาผู้ให้บริการอีเมล์เจ้าหนึ่งก็ได้จ่ายค่าไถเป็น BitCoin เลยอยากจะเอามาเล่าให้ฟังกัน นะอิอิ ส่วนถ้าใครเผ่นไปอยู่ประเทศอื่น ที่เขาอนุญาติใช้ก็ ลองศึกษาดูก่อนครับ ก่อนที่จะลงทุน เพราะ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน นะครับ

Read Next...

ยืดเวลาการใช้งานแบต Macbook ด้วย 3 ทริกง่าย ๆ

ยืดเวลาการใช้งานแบต Macbook ด้วย 3 ทริกง่าย ๆ

เวลาเราเอา Macbook ออกไปใช้งานนอกบ้าน บางครั้ง เราสามารถเสียบปลั๊กไฟได้ แต่งานก็ต้องทำ ก็คือทำงานแข่งกับเวลาเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาบอกทริกการยืดเวลาการใช้งานบน Battery กันจาก 3 ทริกง่าย ๆ กัน...

Bittorrent คืออะไร ทำงานอย่างไร?

Bittorrent คืออะไร ทำงานอย่างไร?

การดาวน์โหลดไฟล์ผ่าน Internet เป็นเรื่องทั่ว ๆ ไปสำหรับการใช้งานในปัจจุบันกันแล้ว ตั้งแต่การโหลดไฟล์เอกสารต่าง ๆ จนไปถึงการ Stream เพลง และหนังต่าง ๆ แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับโลกอีกใบ อีกวิธีการของการแชร์ไฟล์บนโลก Internet กันนั่นคือ Bittorrent...

ปัญหาการโอนเงินไม่ผ่านแต่ผ่านกับ Two Generals' Problem

ปัญหาการโอนเงินไม่ผ่านแต่ผ่านกับ Two Generals' Problem

หลายวันก่อนไปซื้อชานมมา จ่ายเงินด้วย QR Code ปรากฏว่า จ่ายไม่ได้ แต่เครื่อง EDC บอกว่า จ่ายผ่านเฉยทำให้คิดถึงปัญหานึงที่น่าสนใจคือ Two Generals' Problem วันนี้เราจะมาเล่าให้อ่านกันว่า มันคืออะไร และเกี่ยวอะไรกับการโอนเงิน...

Stream Apple Music อย่างไรให้ได้คุณภาพสูงสุด

Stream Apple Music อย่างไรให้ได้คุณภาพสูงสุด

เรื่องของเรื่องคือ เราทดลองเล่นเพลงผ่าน AirPlay 2 เข้ากับลำโพงแล้วเสียงมันแปลก ๆเลยไปหาข้อมูลมา เลยทำให้โป๊ะว่า อ้าว.... ชิบหาย Hi-Res ทิพย์นี่หว่า ทำไม เราไปดูเหตุผลในบทความนี้กัน...